โรคนี้พบได้มากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ
ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วย 2000-3000 รายต่อปี และ ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อ
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานีด้วยโรคเมลิออยด์ถึงปีละ 300-400 คน
ใครเสี่ยงต่อโรคนี้บ้างครับ
1. ผู้ที่สัมผัสกับดินและน้าบ่อยๆ เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวประมง
2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
3. ผู้ที่มีโรคประจาตัวอื่นๆ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคธาลัสซีเมีย และ โรคมะเร็ง
4. ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา
5. ผู้ที่รับทานยาหรือสารที่มีส่วนผสมของ สเตอรอยด์ เช่น ยาหม้อ ยาต้ม ยาชุด ยาลูกกลอน
1. เข้าผ่านผิวหนังโดยตรง โดยไม่จาเป็นต้องมีรอยแผลหรือรอยถลอก
2. โดยการดื่มหรือกินอาหารและน้าที่
ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์ เช่น น้าที่ไม่ได้ต้ม
3. เข้าทางปอด โดยการสาลักน้า หรือ หายใจเอาฝุ่นดิน หรือลมฝนเข้าสู่ปอด
“ โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน"
ผู้ป่วยมีอาการได้หลากหลายไม่จาเพาะและมีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงที่พบได้มีทั้ง การติดเชื้อในปอด (ไข้ ไอ) ฝีที่ตับหรือม้าม (ไข้ ปวดท้อง) การติดเชื้อที่ผิวหนัง (อักเสบหรือมีฝี) และ การติดเชื้อในกระแสเลือด (ไข้สูงอย่างเดียว)
การรักษา
2. ให้ยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดที่จาเพาะกับโรค เช่น ยาเซฟตาซิดีม อย่างน้อยที่สุด 10 วัน
3. หลังจากนั้น รับประทานยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนาอีกอย่างน้อยที่สุด 5 เดือน
ต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อจนครบตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้า
หากมีอาการแพ้ยาหรืออาการข้างเคียงจากยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ อย่าหยุดกินยาเองเด็ดขาด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น