วิถียอดนักวิชาการสาธารณสุข
หากท่านใดต้องการเป็นสุดยอดนักวิชาการสาธารณสุข ก็สามารถนำไปประยุกต์ได้นะครับ
By Daniel Coyle
A Bantam Book 2009
หนังสือเกี่ยวกับการถอดระหัสความสำเร็จของสุดยอดฝีมือทางการกีฬา การดนตรี และการศึกษา ผู้เขียนศึกษาค้นคว้างานวิจัยและติดตามสุดยอดฝึมือในหลากหลายวงการ เขาค้นพบว่าระหัสความสำเร็จมีสามปัจจัยหลักคือ การฝึกเชิงลึก แรงบันดาลใจ และสุดยอดโค้ช หนังสือแบ่งเป็นสามภาคตามปัจจัยดังกล่าว
1. การฝึกเชิงลึกสำหรับสุดยอดฝีมือระดับโลก
คือการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ลองผิดลองถูก จนกระทั่งจับทางได้ ในการฝึกนั้นต้องยกระดับการฝึกให้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ
มีตัวอย่างการฝึกบินในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องจำลอง จนกระทั่งมีการพัฒนาเครื่องนี้ขึ้นมา แง่คิดคือเราไม่เคยฝึกบริหารคนในสถานการณ์จำลองเลย เราเรียนผิดเรียนถูกเหมือนการฝึกเครื่องบินจริง ที่เรามักจะบินตกบ่อยๆในการทำงานจริงๆคือบริหารคน ซึ่งผลเสียคือเราทำให้ทรัพยากรบุคคลคือคนที่ทำงานเก่งเดือดร้อนเกินความจำเป็น
เขาเล่าถึงว่าทำไมคนบราซิลเล่นบอลเก่ง เพราะว่าที่นั่นฮิตการเล่นบอลสนามเล็กซึ่งผู้เล่นมีโอกาสสัมผัสบอลมากกว่าปกติถึงหกเท่า และนักบอลต้องใช้ทักษะและสัญชาตญาณการเล่นที่สูงกว่าสนามใหญ่มาก มีโค้ชชาวอังกฤษไปศึกษามาแล้วมาเปิดโรงเรียนฝึกนักบอลสอนนักเรียนด้วยเทคนิคสนามเล็กแบบบราซิลจนนักเรียนเขาได้ชัยชนะในระดับสูงกว่ามาตรฐาน
ในทางการแพทย์การฝึกแบบซำ้ๆทำให้เกิดพัฒนาการทางเซลสมองที่ชื่อ Myelin (มายเยลลีน)
โดยสถิติ คนที่จะเก่งระดับโลกนั้นต้องฝึกเชิงลึกมาไม่ตำ่กว่าหนึ่งหมื่นชั่วโมงหรือสิบปีต่อเนื่อง
หลักการสามข้อของการฝึกเชิงลึก
a. แยกสิ่งที่จะเรียนออกเป็นเรื่องย่อยๆ และฝึกทีละเรื่อง
b. ฝึกฝนต่อเนื่อง ติดต่อกันทุกวัน โดยเฉพาะจุดที่เป็นหัวใจของการเล่นนั้นๆ
c. รู้ว่าขั้นตอนไหนคือจุดสำคัญ แล้วฝึกส่วนนั้นให้เก่ง
2. แรงบันดาลใจ
a. อาจจะมาจากใครคนใดคนหนึ่ง เช่นนักกอล์ฟหญิงเกาหลีใต้ที่ได้รางวัลระดับโลกคนแรกเมื่อ 1998 หลังจากนั้นก็มีนักกอล์ฟเกาหลีใต้จำนวนมากเล่นติดระดับโลก
b. มาจากการวางแผนระยะยาวของคน มีการศึกษาว่าเด็กที่มีแผนระยะยาวกับเด็กที่ไม่มีแผนในการเล่นดนตรีนั้น ด้วยเวลาที่ใช้ในการฝึกเท่าๆกัน เด็กที่เล่นเพราะมีเป้าหมายระยะยาวเล่นได้ดีกว่า 400%
c. แรงบันดาลใจจากการที่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้นๆ
3. สุดยอยดโค้ช
สุดยอดโค้ชที่สร้างยอดฝีมือ อายุมาก ประสบการณ์เยอะ เงียบ ช่างสังเกต พวกเขามุ่งความสนใจไปกับการพัฒนาคนอื่น พวกเขาบอกไม่ได้ว่าใครจะเป็นยอดฝีมือในอนาคต แต่สุดยอดโค้ชช่วยให้แต่ละคนก้าวหน้าได้ดีขึ้น
พวกเขาคล้ายเกษตรกร ใจเย็น อดทน ในการพัฒนาคน ติดดิน วินัยสูง รู้ลึกในสิ่งที่ตนเองทำ คือสร้างความเชี่ยวชาญให้กับคนอื่นเพื่อให้เขาฝึกในเชิงลึกได้ดี
ตัวอย่างหนึ่งในสุดยอดโค้ชคือ จอ์น วู๊ดเด้น อดีตโค้ชบาส UCLA จากการเฝ้าสังเกตการโค้ชในช่วงเวลาหนึ่ง โค้ชวู๊ดเด้น พูด 2,326 ครั้ง 6.9% ชม 6.6% ตำหนิ 75% คือข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลงาน โดยวิธี “บอกสิ่งที่ถูก ชี้ให้เห็นวิธีผิด บอกสิ่งที่ถูกอีกครั้ง” แล้วให้ผู้เล่นแก้การเล่นใหม่ โค้ชเตรียมตัววันละสองชั่วโมงเพื่อการฝึกทีม โค้ชปฎิบัติกับแต่ละคนตามจริตของแต่ละคนที่แตกต่างกัน และรู้ว่าอะไรคือแรงบันดาลใจของแต่ละคน และคำพูดอะไรที่ “โดน” ใจของแต่ละคน
ป้ายกำกับ:
ชีวิตนักวิชาการสาธารณสุข,
นักวิชาการสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
ชีวิตนักวิชาการสาธารณสุข, นักวิชาการสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
ยายี่ห้อ zithromax มีตัวยา AZITHROMYCIN ส่วนใหญ่แพทย์เฉพาะทางจะจ่ายยาตัวนี้เพราะไม่ต้องกินมากและหายเร็ว แต่ตามโรงพยาบาลหรือร้านยาจะไม่จ่...
-
ตัวอย่างการแบ่งงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนะครับ มีทั้งหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุ...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น