ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทบาทเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน


 ช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงปลายปีงบประมาณแล้วละครับ นักวิชาการสาธารณสุขหลายท่านคงสวมบทบาทนักจัดการโครงการ ก็คือต้องเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จก่อนปีงบประมาณ ผมเป็นนักวิชาการที่โชคดีที่ไม่ต้องมาเร่งทำโครงการเหมือนนักวิชาการสาธารณสุขคนอื่นๆและวันนี้ผมได้นำบทความพิเศษของท่านประสพ เรียงเงินและท่านบันเทิง เพียรค้า มาฝากท่านผู้อ่านครับ บทความชื่อ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนไม่เกื้อกูลต่อสายงานวิชาการจริงหรือ?


ความนำ
            ความพยายามในการผลักดัน ให้มีตำแหน่งทางวิชาการสาธารณสุขประจำสถานีอนามัยจนเป็นผลสำเร็จ เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขกรุณามอบให้เพื่อเป็นของขวัญและกำลังใจแก่หมออนามัย ที่ต้องรับผิดชอบให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสานทุกกิจกรรม ซึ่งปริมาณงานต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านลักษณะและความยุ่งยากสลับซับซ้อน รวมทั้งต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท และงานอื่นๆ ที่ต้องได้รับมอบหมายด้วย ตำแหน่งดังกล่าวจึงน่าจะเป็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่สถานีอนามัยซึ่งเป็นทั้งบ้านและที่ทำงานของพวกเขานั่นเอง แต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมิได้ง่ายดายเหมือนความใฝ่ฝันของพวกเขา เพราะมีปัญหาและอุปสรรคบางประการต่อการได้มาซึ่งตำแหน่ง และความก้าวหน้าในสายวิชาการของหมออนามัยอย่างพวกเขา ดังจะได้กล่าวต่อไป

สภาพปัญหา
            1. การได้มาซึ่งตำแหน่งนักวิชาการในสถานีอนามัย กว่าตำแหน่งนี้จะได้รับการอนุมัติ ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งหมออนามัยทุกคนก็ต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยความจริงใจ
          2. การเข้าสู่ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงาน ก..ได้กำหนดเงื่อนไขในการเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นคุณสมบัติในการบรรจุแต่งตั้งที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องผ่านการสอบแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของผู้พลาดโอกาส ในการเข้าสู่ตำแหน่งนักวิชาการของหมออนามัย เพราะข้อสอบดังกล่าวนี้จะมีความยากมาก สำหรับผู้ที่เตรียมตัวไม่พร้อม มีเวลาเตรียมตัวน้อยหรือไม่ได้ฝึกทักษะใน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
* สถานีอนนามัยตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลยุรี จังหวัดสุรินทร์

การทำข้อสอบเท่าที่ควร (โดยอาจจะมีเหตุผลแตกต่างกันไป) แม้ว่าข้อสอบความสามารถทั่วไป จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่ใช้ในการวัดความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ทั่วๆ ไป เพื่อคัดเลือกบุคคลของสำนักงาน ก.. แต่อาจจะไม่เป็นธรรมกับการเปลี่ยนสายงานเป็นนักวิชาการของหมออนามัยมากนัก เพราะพวกเขาไม่ใช่กลุ่มข้าราชการทั่วไปเหมือนกระทรวงอื่น ที่เริ่มรับราชการในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีขึ้นไปในสายงานเดียวกัน การเปลี่ยนสายงานจะเกิดการแข่งขันกันระหว่างคนสองกลุ่ม แต่พวกเขาล้วนเป็นบุคคลที่เริ่มรับราชการในระดับเดียวกันทั้งหมด จึงไม่มีการแข่งขันระหว่างกลุ่มดังกล่าว และการบรรจุนักวิชาการในสถานีอนามัย เป็นการเกลี่ยคนในอัตราเดิมมาบรรจุ มิได้แข่งขันกับบุคคลภายนอกและไม่ต้องเพิ่มอัตรากำลัง จึงไม่ขัดกับนโยบายด้านกำลังคนของทางราชการ นอกจากนี้ในวงการสาธารณสุขด้วยกันมีบางสายงาน เช่น พยาบาลเทคนิค เป็นต้น เมื่อสำเร็จการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีแล้ว สามารถที่จะปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งสายงานวิชาการได้ โดยไม่ต้องมีการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขันซึ่งเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดการได้เสียเปรียบกันอย่างชัดเจน แต่เมื่อเงื่อนไขของ ก.. กลายเป็นหลักการที่ต้องถือปฏิบัติ พวกเขาก็เคารพในหลักเกณฑ์ดังกล่าว
          3. ความก้าวหน้าในตำแหน่ง แม้กรอบอัตรากำลังในสถานีอนามัยของ ก..จะกำหนดให้มีนักวิชาการสาธารณสุขระดับ 6 . และ 7 . (สูงกว่าระดับของหัวหน้าสถานีอนามัยในปัจจุบันด้วยซ้ำ) แต่ความเป็นจริงแล้วกรอบอัตรากำลังดังกล่าว มิได้เอื้ออำนวยต่อหมออนามัย ที่เปลี่ยนสายงานจากตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนเท่าใดนัก ทั้งนี้เนื่องจากตามเกณฑ์ของ ก.. ได้กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของนักวิชาการ ระดับ 6 ว และ 7 ว ว่าต้องมีประสบการณ์ในสายงานวิชาการไม่น้อยกว่า 6 และ 7 ปีตามลำดับ แม้ภายหลังจะอนุโลมให้มีการนับระยะเวลาที่เกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกับสายงานวิชาการนั้นๆ ได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอขออนุมัติ ให้มีการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข พยาบาลเทคนิค และเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนเป็นระยะเวลาเกื้อกูล ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ. 0203/42/27209 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 แต่บัดนี้ มีเพียงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข และพยาบาลเทคนิคเท่านั้นที่ได้รับอนุมัติแล้ว ตามหนังสือสำนักงาน ก..ที่ นร 0707.9/123 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2540
          ตั้งแต่วันที่ขออนุมัติถึงบัดนี้ (.. 41) ประมาณ 2 ปีกว่าแล้ว ที่ระยะเวลาของตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่การปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานที่ต้องใช้หลักวิชาการสาธารณสุขเช่นกัน
          4. แนวโน้มในอนาคต กรอบอัตรากำลังในสถานีอนามัยนั้น หัวหน้าสถานีอนามัยจะต้องเป็นระดับ 7 และมีตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ระดับ 6 (อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง) โดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ระดับ 5 ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนสายงานเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ที่มีผลสอบเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 และมีคุณสมบัติอื่นๆ ครบ จะสามารถประเมินเลื่อนระดับ 5 ไประดับ 6 ซึ่งจะก้าวหน้าเร็วกว่าผู้ที่เปลี่ยนสายงานจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนเป็นนักวิชาการสาธารณสุข โดยเฉพาะเงื่อนไขของ ก.. ที่ยังไม่อนุมัติให้นับระยะเวลาตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน รวมกับสายงานวิชาการได้เหมือนกับตำแหน่งอื่นๆ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานต่อหน่วยงานและการดำเนินงานต่างๆ ด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงของการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เพื่อให้เห็นว่าตำแหน่งดังกล่าวนี้มีความเป็นวิชาการทางสาธารณสุขบ้างหรือไม่ อย่างไร

ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนมีความเป็นวิชาการบ้างหรือไม่ ?
            1. ความหมายของตำแหน่งทางวิชาการ โดยทั่วไป ก..ได้กำหนดไว้ 2 ลักษณะ คือ
                        1.1 มีลักษณะเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัยหรือวิธีการอื่นใด เพื่อหาวิธีการ ทฤษฎี แนวคิดใหม่ๆ หรือเพื่อการเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานซึ่งโดยทั่วไปปจะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถและความชำนาญหรือประสบการณ์ในการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
                   1.2 มีลักษณะเกี่ยวกับการให้บริหารหรือเชิงปฏิบัติการ โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความสามารถ และมีทักษะ (ความชำนาญ) เฉพาะบุคคลอย่างสูงซึ่งโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติงานหรือให้บริการในลักษณะที่เป็นแบบฉบับ หรือเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานธรรมดาทั่วไป และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ (มิใช่เป็นการปฏิบัติหรือให้บริการตามมาตรฐานทั่วไป หรือเป็นการปฏิบัติงานประจำ)
          2. ลักษณะงานและความเป็นวิชาการของตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
                   2.1 หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน มีบทบาทหน้าที่ในการวางแผนสนับสนุนการดำเนินงานด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพทางร่างกายและจิตใจ การสนับสนุนทางวิชาการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งบทบาทหน้าที่ในการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลงาน เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประสานงานกับองค์กรเอกชน องค์กรชุมชนและประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป
                   2.2 ลักษณะงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ การวางแผนงานและประเมินผล การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล การควบคุมโรคติดต่อ การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาชุมชน การควบคุมโรคไม่ติดต่อ การสุขภาพจิต การสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
                   2.3 ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนกับความเป็นวิชาการ เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานของตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จะเห็นว่า เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานที่มีลักษณะทางวิชาการค่อนข้างมาก โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในลักษณะเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถดำเนินตามนโยบายและบรรลุตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ
                             2.3.1 ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพการดำเนินงานดังกล่าวนี้ หากผู้ปฏิบัติไม่มีความรู้และทักษะทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว คงไม่สามารถที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในทางตรงกันข้าม อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาสาธารณสุขได้
          ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงานเพียงบางส่วนของเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ซึ่งจะต้องใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพในการปฏิบัติงาน เช่น ด้านการรักษาพยาบาล ต้องใช้ความรู้เกียวกับโรคหรืออาการเจ็บป่วยและการใช้ยาต่างๆ รวมทั้งทักษะและประสบการณ์ในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยและให้การรักษาพยาบาล หรือส่งผลต่อได้อย่างถูกต้อง ด้านงานระบาดวิทยา เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นในเขตรับผิดชอบ ต้องดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การศึกษาความเป็นมาของโรค การยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด การกำหนดสมมติฐานการเกิดโรค การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การควบคุมการระบาดให้โรคสงบโดยเร็ว รวมทั้งสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ด้านการอนามัยแม่และเด็ก ต้องสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้ามหมาย/วางแผนการให้บริการ และติดตามผลการดำเนินงาน เช่น ให้บริการฝากครรภ์ ทำคลอด ดูแลหลังคลอด ให้วัคซีนเด็ก ฯลฯ ซึ่งจะต้องใช้เทคนิควิธีการที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด และระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดความผิดลพลาดแล้ว อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้รับบริการได้
            นอกจากนี้ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนยังต้องมีหน้าที่ในการสำรวจและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสาธารณสุขในแต่ละปี เพื่อใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานประจำปีด้วย ดังนั้นเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนจึงต้องใช้องค์ความรู้และทักษะทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้ที่ได้ศึกษาต่อเนื่องด้านสาธารณสุขศาสตร์สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จึงสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้มากขึ้นด้วย
                   2.3.2 ต้องใช้องค์ความรู้และทักษะด้านจิตวิทยาและสังคมศาสตร์ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนาสาธารณสุขในชุมชน เช่น การให้สุขศึกษา การให้คำปรึกษา การศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน วางแผนและปฏิบัติงานในชุมชน และการประเมินผลชุมชน การดำเนินการดังกล่าวต้องใช้องค์ความรู้และทักษะทางวิชาการที่เหมาะสม จึงจะช่วยให้การพัฒนาสาธารณสุขในชุมชนประสบผลสำเร็จได้
                        2.3.3 ผลงานทางวิชาการและนวตกรรมสาธารณสุขในรอบ 10 ปีที่ผานมา จะเห็นว่าการดำเนินงานต่างๆ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนมีผลงานทางวิชาการและนวตกรรมสาธารณสุขเป็นที่ยอมรับมากมาย โดยจะเห็นได้จากกิจกรรมและผลงานที่ส่งประกวดผลงานทางวิชาการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล สนับสนุนโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยทุกๆ ปี นอกจากนี้ยังมีผลงานวิชาการอื่นๆ เช่น การศึกษา วิเคราะห์ หรืองานวิจัยต่างๆที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางด้วย
          เมื่อพิจารณาจากบทบาทหน้าที่ ลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นว่าเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (โดยเฉพาะที่ปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย) เป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในลักษณะที่มีการผสมผสานความรู้ ทักษะและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “พนักงานเอนกประสงค” ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากต้องมีบทบาทเป็นนักสาธารณสุขในหลายตำแหน่ง (หน้าที่) เช่น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ให้บริการด้านงานทันตกรรมบางส่วน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาบ้าง สามารถรักษาพยาบาลได้ด้วย นอกจากนี้ยังต้องเป็นนักส่งเสิรมสุขภาพ นักสุขศึกษา และนักจิตวิทยา เป็นต้น ดังนั้นเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนที่ดี จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่รู้กว้าง (แต่อาจจะไม่ลึก) รู้จักมองมิติทางด้านสุขภาพในลักษณะที่เป็นองค์รวม (holistic health) สามารถเชื่อมโยงมิติด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน (มิใช่มองแบบแยกส่วน) เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมชุมชนซึ่งการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าว ต้องใช้หลักสหวิชาการ (Multidisciplinary) มาประยุกต์ใช้ด้วย

ทางออกของปัญหา
            แนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้มีการพิจารณาอนุมัติให้นับระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เป็นระยะเวลาที่เกื้อกูลต่อสายงานวิชาการโดยเร็วนั้น น่าจะมีทางออกของการแก้ไขปัญหา ดังนี้
          1. บทบาทของนักสาธารณสุข
                        1.1 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณา ควรรีบผลักดันให้มีการดำเนินการโดยเร็ว
                   1.2 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสนอเหตุผลประกอบการพิจารณา ควรเปิดเผยข้อมูลที่ได้เสนอไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับอนุมัติ และหากเหตุผลดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ควรจะทบทวนและนำเสนอไปใหม่ รวมทั้งมีการชี้แจงรายละเอียดดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนในการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการผู้พิจารณา เพราะเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากต่อผลการพิจาณา
                   1.3 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาควรร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอเพื่อพิจารณาต่อไปและควรจะมีการรวมตัวเป็นองค์กร (เช่น จัดตั้งชมรมขึ้น) ที่เข้มแข็งอย่างจริงจัง เพื่อเป็นพลังในการต่อรองเรื่องต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
            2. การศึกษาวิเคราะห์หรือวิจัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นวิชาการในการทำงานจริงๆ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน โดยให้นักวิชาการสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว เพื่อนำเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุมัติ ให้การดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เป็นระยะเวลาที่เกื้อกูลต่อสายงานวิชาการต่อไป
         

บทสรุป

แม้ว่าสภาพความเป็นจริงของการปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จะต้องใช้หลักวิชาการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เป็นตำแหน่งที่เกื้อกูลต่อสายงานวิชาการแต่อย่างใด ปัญหานี้เป็นผลกระทบที่มักจะเกิดขึ้นได้กับข้าราชการะดับล่างซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ แต่มักจะได้รับความสนใจไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ เนื่องจากข้าราชการ สาธารณสุขมีอยู่หลากหลายสายงาน ความก้าวหน้าจึงแตกต่างกันมากขึ้น จะเห็นได้จากสายงานที่มีอำนาจต่อรองสูง จะมีความก้าวหน้าและสวัสดิการดีกว่ามาก ในขณะที่ความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย มักจะมีปัญหาอยู่เสมอทั้งๆ ที่พวกเขาคือแนวหน้าที่พร้อมจะสู้รบกับปัญหาสาธารณสุขตลอดเวลา
ดังนั้นจึงใคร่ขอความกรุณาท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โปรดให้ความเป็นธรรมเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจทุกเรื่องของพวกเขาอย่างจริงจังด้วย เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า เลือดชาวสาธารณสุขนั้น มีสีเดียวกันจริงๆ

           

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio