ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โดนเงี่ยงปลาดุก

   เมื่อวานน้องชายผมเดินมาหาผม พร้อมกับถามผมว่า “โดนเงี่ยงปลาดุกตำทำเยี่ยงไรดี”
ผมบอกให้ฉี่ใส่แผลที่มันโดนเงี่ยงปลาดุกตำ เพราะเพื่อนผมที่เคยโดนเงี่ยงปลาดุกทะเลตำมันเคยทำ
ไอ้เจ้าน้องชายตัวดีของผมมันก็ไม่เชื่อ และไม่ทำตาม ผมเองก็สงสัยว่า “ถ้าไม่เชื่อแล้วจะมาถามทำไม”
imagesCA7BEAP8
    คนที่โดนเงี่ยงปลาดุกตำ จะมีความเจ็บปวด ทรมาน ไม่เท่ากัน น้อยบ้าง มากบ้าง
แต่ถ้าคนไหนที่มีอาการปวดมากและแผลหรือบริเวณที่โดน มีอาการ บวม แดง ร้อน ก็เดาได้ว่าเกิดการอักเสบ
    การรักษาหรือบรรเทาก็คงจะเป็นการรับประทานยา antibiotics เช่น  Amoxycillin
แต่หากไม่การติดเชื้อก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา antibiotics เพียงแต่รับประทานยาแก้ปวด ประมาณ 2-3 วันอาการก็จะหายไป
    ยาแก้ปวดที่นิยมใช้ และใช้ได้ผล คือ ยาพอนสแตน 500 มล.
Ponstan เป็นชื่อทางการค้า ซึ่งมีชื่อสามัญทางยา คือ Mefenamic acid
ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม N-SAIDs(Non-Steriodal-Antiinflammatory-Disease)
ซึ่งมีฤทธิ์การรักษาอาการปวดต่างๆนาๆ เช่น ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

   ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยา paracetamol ซึ่งอาจไม่ได้แพ้ตัวยา paracetamol โดยตรง อาจเกิดจากการแพ้ สารอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบในยาเม็ด paracetamol แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาจากตัวยา paracetamol จริง ก็สามารถใช้ยา Ponstan นี้ได้เพราะยา Ponstan ไม่มีส่วนประกอบของยา paracetamol ซึ่งผู้ป่วยที่แพ้ยา paracetamol สามารถรับประทานยา Ponstan ได้

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง
     ตากุ้งยิง เป็นการอักเสบของต่อมในหนังตาที่อยู่บริเวณโคนขนตา  ลักษณะเหมือนฝีทั่วไป มีทั้งตากุ้งยิงภายนอกและตากุ้งยิงภายใน ส่วนใหญ่กุ้งยิงเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม สแตฟ(Staphylococcus) จึงก่อให้เกิดอักเสบของต่อมในหนังตา ตามมาด้วยมีการบวม มีหนองสะสม         ก่อให้เห็นเป็นฝี เป็นก้อนนูน ถ้าเป็นที่หนังตาบน หากหลับตาจะเห็นก้อนนูนชัดเจน

    อาจมีอีกภาวะหนึ่งที่เกิดกับต่อมต่างๆของหนังตาเช่นกัน เป็นไตนูนแข็ง ขนาดพอๆกับกุ้งยิง เรียกว่า ปรวดหนังตา (Chalazion) โดยไม่มีการอักเสบติดเชื้อ ไม่เจ็บ เป็นเพียงมีก้อนนูนขึ้นมาเฉยๆ

   ตากุ้งยิง มักพบในคนที่ชอบขยี้ตา ผู้ที่ไม่ค่อยรักษาความสะอาดใบหน้า ตลอดจนใช้คอนแทคเลนส์/เลนส์สัมผัส (Contact lens) ร่วมกับผู้อื่น ผู้ที่มีโรคผิวหนังบริเวณใบ หน้า และ/หรือ มีใบหน้ามัน จึงมีการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณใบหน้ารวมทั้งหนังตาได้สูงกว่า

   การรักษาตากุ้งยิง หากเกิดการอักเสบและเกิดอาการบวม แดง ร้อน ควรเช็ดทำความสะอาดขอบตาด้วยน้ำอุ่นสะอาด โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา ประมาณวันละ 2 ครั้ง และรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่หากเป็นตากุ้งยิงชนิด ปรวดหนังตา (Chalazion) ต้องกรีดเอาก้อนออก
 
Terramycin

ยาที่ใช้รักษาตากุ้งยิง ได้แก่   ป้ายที่เปลือกตาก่อนนอน,คลอแรมเฟนิคอล หยอดตา และกินยาไดค็อกซ่าซิลิน ก่อนอาหารเช้า เที่ยง เย็น ก่อนนอน

พัฒนาการของเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี

เด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี จะเรียนรู้จากการมองเห็น การได้ยินและการสัมผัส สนใจวัตถุที่ยื่นเข้ามาใกล้ วัตถุที่เคลื่อนไหว วัตถุสีสดใส มี
การเคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่าง เรียนรู้ ในการทรงตัว ท่านั่ง ท่ายืน พัฒนาการเด็กวัยนี้ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้
CIMG5334- พัฒนาการด้านการเคลอื่นไหว
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เริ่มชันคอได้ และเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำเด็กจะยกศีรษะและหน้าอก
อายุ 3-6 เดือน เริ่มพลิกตะแคงตัวคว่ำได้ เอื้อมมือหยิบของเล่นเริ่มคืบไปข้างหน้า
อายุ 6-9 เดือน นั่งตามลำพังได้เป็นพัก เมื่อจับยืนจะกระโดดยกตัวด้วยความพอใจ นั่งได้เอง คลานได้เอง เริ่มเกาะยืน เกาะเดินไป
ด้านข้าง ได้ 4 - 5 ก้าว
อายุ 9 - 12 เดือน เริ่มเกาะเดินไปข้าง ตามข้างฝา เดินไปข้างหน้าโดยช่วยจูงมือเด็กทั้ง 2 ข้าง และเริ่มเดินได้เอง
- พัฒนาการด้านกล้ามเนอื้ มัดเลก็ และสตปิ ัญญา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เริ่มมองวัตถุสีสันสดใส ขณะนอนหงายจะนำมือทั้ง 2 ข้างเข้าหากัน มือจะอยู่ในท่ากำ
อายุ 3 - 6 เดือน จะมองวัตถุจากวัตถุชิ้นหนึ่งไปยังวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง เริ่มกางนิ้วออกหยิบวัตถุสิ่งของ ปล่อยคลายวัตถุออก และเปลี่ยนถ่ายวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้
อายุ 6 - 9 เดือน เริ่มใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น หยิบวัตถุขึ้นจากพื้น เริ่มใช้นิ้วมือจิ้มชอนไชตามซอกรูต่าง
อายุ 9 - 12 เดือน จีบนิ้วหยิบจับสิ่งของได้ ใส่วัตถุลงในถ้วยได้
- พัฒนาการด้านความเขา ใจภาษา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน ตอบสนองหรือเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อได้ยินเสียง
อายุ 3 - 6 เดือน หันตามเสียงเรียก
อายุ 6 - 9 เดือน สนใจคนพูด เปลี่ยนสีหน้าตอบสนองต่อเสียงที่อ่อนโยน หรือเสียงเกรี้ยวกราด เริ่มทำตามคำสั่งง่าย เมื่อใช้ท่าทางประกอบ
อายุ 9 - 12 เดือน หันตามเสียงเรียกชื่อ ตอบสนองต่อคำสั่งที่หนักแน่นโดยหยุดกระทำรู้จักสมาชิกในบ้านเมื่อเอ่ยชื่อ
- พัฒนาการด้านการใช้ภาษา
อายุแรกเกิด - 3 เดือน เปล่งเสียงในลำคอ ส่งเสียงอ้อแอ้เมื่อมีคนคุยด้วย
อายุ 3 - 6 เดือน เริ่มเปล่งเสียงสระ เล่นเสียงริมฝีปาก เล่นเสียงพ่นน้ำลาย มีการเลียนแบบการออกเสียงพยัญชนะและสระง่าย
อายุ 6 - 9 เดือน ออกเสียงซ้ำ ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจเลียนแบบการกระทำ
อายุ 9 - 12 เดือน เลียนแบบการกระทำคู่กับเสียง เลียนแบบการกระทำโดยใช้ส่วนของใบหน้า เช่น กระพริบตา จู๋ปาก แลบลิ้น ยิ้มหวาน

oom- พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
อายุแรกเกิด - 3 เดือน ยิ้มหรือส่งเสียงตอบเมื่อมีผู้พูดคุยและแตะต้องตัว
อายุ 3 - 6 เดือน ยิ้มเอง ยื่นแขนให้อุ้ม พยายามคว้าจับของเล่น
อายุ 6 - 9 เดือน กลัวคนแปลกหน้า เล่นของเล่นได้ตามลำพังดื่มน้ำจากถ้วยแก้วเมื่อมีการช่วยเหลือ เคี้ยวและกลืนอาหารที่บดหยาบได้ ใช้นิ้วมือหยิบอาหาร
อายุ 9 - 12 เดือน ร่วมเล่นจ๊ะเอ๋ ถือช้อนและพยายามเอาอาหารเข้าปากและเคี้ยวกลืนได้
- พัฒนาการด้านการแสดงออกทางอารมณ์
เด็กอายุแรกเกิด - 1 ปี จะร้องไห้เสียใจเมื่อหวิ;ไม่สบาย ถูกแยกจากพ่อแม่ จะยิ้มดีใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะโกรธเมื่อถูกแยกจากคนที่รักหรือ ไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่ง ที่ทำให้ตนพอใจ และจะรักคนที่ตนเองพอใจและตอบสนองความต้องการของตนเองได้

บอกลา "ความดันโลหิตสูง" "ฆาตกรเงียบ"

กรณีศึกษาจาก ย.โย่ง ถึง น.หนู สู่ท่านชุมพล ศิลปอาชา มาถึงตัวเลขจากมิเตอร์ประเทศไทย (Thailandometers) ของมหาวิทยาลัยมหิดล รายงานล่าสุด 07.46 น. วันที่ 20 ธันวาคม 2555 คนไทยตายตั้งแต่ต้นปีด้วยโรคหัวใจ 33,062 ราย โรคหัวใจขาดเลือด 33,981 ราย โรคเส้นเลือดในสมองแตก 25,715 ราย

เบาหวาน 23,878 ราย รวมทั้งสิ้น 116,636 ราย เป็นตัวเลข 4 อันดับแรกของประเทศ...นั่นคือข้อมูลที่อยากบอกคนไทยทั้งประเทศได้ทราบเบื้อง ต้น

สัปดาห์สุดท้ายของปี 2555 อยากพูดคุยโรคที่สำคัญอันดับ 1 ของประเทศไทย คือ "ฆาตกรเงียบ (Silent killer) หรือมัจจุราชมืด" ซึ่งก็คือ "โรคความดันโลหิตสูง"

ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีผู้ป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค โดยประชากร 1 แสนคน พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 259.02 ในปี 2543 และพบเพิ่มเป็น 1,349.39 ในปี 2553 ซึ่งถือว่ามีอัตราสูงขึ้นกว่า 5 เท่า

ใน ขณะที่ผลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551-2552) พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 ในผู้ชาย และร้อยละ 40 ในผู้หญิง ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง

มีหลายประเด็น ที่พี่น้องคนไทยไม่รู้ไม่ใส่ใจ รู้ทั้งรู้ หรือยังเข้าใจผิดอยู่ เมื่อลงพื้นที่หลายจังหวัดก็จะพบประเด็นต่างๆ เช่น คิดว่าโรคนี้จะต้องมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น หรือเหนื่อยง่าย เมื่อไม่มีอาการก็นึกว่าไม่เป็นโรคนี้ ความจริงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 จะไม่พบโรคหรือภาวะผิดปกติ

สิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง ซึ่งเรียกว่าความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension หรือ Primary Hypertension) ซึ่งมักเป็นพันธุกรรม ถ้าพ่อแม่พี่น้องเป็น ตัวเองมีโอกาสเป็นสูงกว่าคนอื่น 3 เท่า นอกจากคนสูงอายุ อ้วน กินเค็ม ดื่มเหล้า เป็นปัจจัยสำคัญ พบในอายุเริ่มที่ 25 ปี ต่อมาเริ่มมีอาการป่วยที่อายุ 40 ปี ผู้ป่วยจะปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจความดัน เนื่องจากไม่มีอาการจนในที่สุดกลายเป็นโรคหัวใจ โรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองแตกมาโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนน้อยต่ำกว่าร้อยละ 10 อาจตรวจพบโรค เป็นต้นเหตุ พบในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี เริ่มมีความดันสูงเรียกว่า Secondary Hypertension เช่น หญิงตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ คอพอกเป็นพิษ โรคไตอักเสบ โรคนี้จะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่ มีวิธีเดียวเท่านั้น คือการ "ตรวจวัดความดันโลหิต" เป็นระยะๆ

บางรายนึกว่าคนผอมไม่เป็นความดัน โลหิตสูง ความจริงแล้วโรคนี้พบได้ทั้งคนอ้วนและคนผอม ไม่มีกติกาว่ายกเว้นคนผอมจะไม่ต้องเป็น ยิ่งพ่อแม่เป็นแนวโน้มลูกจะได้มรดกมามากถึง 3 เท่า เชียวนะครับ



เมื่อ คราวที่ผู้เขียนลงพื้นที่ อ.เมืองสิงห์บุรี มีชายไทยอายุ 50 ปี เป็นความดันโลหิตสูงถึง 200/100 มิลลิเมตรปรอท (เป็นสีแดง) รักษานานๆ ให้ยาทุกชนิดก็ไม่ลง พยาบาลลงไป "สอบสวนโรค" พบว่า ลูกชายอายุ 18 ปี ติดยาเสพติด ทำให้พ่อเครียดกินยาอย่างไรก็ไม่ลง รักษา "ลูก" ที่ติดยาก่อน ความดันโลหิตสูงของพ่อก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็ไม่ต้องกินยาลดความดัน

อีกราย ชายไทยอายุ 60 ปี เป็นความดันโลหิตสูงระดับสีแดง 180/100 กินยาต่อเนื่องมาเรื่อย วันหนึ่งไปตรวจวัดความดันกับ อสม.ของโรงพยาบาลท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ผลการวัดความดันอยู่ในระดับปกติ หลังกลับบ้านผ่านไป 10 วัน ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บ จุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้น ต้องปั๊มหัวใจและแก้ไขได้ทันรอดตาย "สอบสวนโรค" พบว่าหลังตรวจวัดเมื่อ 10 วันที่แล้ว "อสม." บอกว่าความดัน "ปกติ" ผู้ป่วยเลยคิดว่า "ตัวเองหาย" จึงไม่ได้กินยา ขาดยาไป 10 วัน กอปรกับช่วงเวลาดังกล่าวมีภาวะเครียด ถูกเจ้าหนี้ทวงเงิน ความดันขึ้น ทำให้มีอาการจุกหน้าอก หัวใจขาดเลือดกะทันหัน และความดันที่วัดขณะนั้นสูงถึง 210/110 มิลลิเมตรปรอท

วิเคราะห์จากสถานการณ์ข้างต้น ผู้เขียนอยากบอกทุกท่านให้ทราบข้อเท็จจริงว่า "โรคความดันโลหิตสูง" นี้ "เป็นแล้วเป็นเลย รักษาไม่หายขาด จะเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต มีหมอเป็นเพื่อน มีโรงพยาบาลเป็นบ้าน" ยาขาดไม่ได้ ต้องหมั่นหาหมอที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน "การเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค" จึงมีความสำคัญยิ่ง

โรคความดันโลหิต สูง จะสังเกตจากอาการแสดงอย่างเดียวไม่ได้เด็ดขาด ถ้าไม่ "วัดความดัน" ก็ไม่มีทางรู้ว่าควบคุมความดันดีหรือยัง การหาหมอหรือหมออนามัยคอยควบคุมความดันให้อยู่เกณฑ์ปกติ ป่วยน้อยที่สุด เขียวเข้ม (น้อยกว่า 139/90) อย่างต่อเนื่องจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนเป็น "สีดำ" และทำให้อายุยืนยาว

อีกตัวอย่างหนึ่งสำคัญมากที่ผู้ป่วยส่วน มากนึกว่า "กินแต่ยาอย่างเดียวก็ควบคุมโรคนี้ได้" ความจริงผู้ป่วยจะ "ต้องปฏิบัติตัว" ด้านสร้างสุขภาพ "3อ" "2ส" และลดอ้วนควบคู่ไปด้วยซึ่งสำคัญมาก ได้แก่ ลดหวาน มัน เค็ม งดเหล้าบุหรี่ ออกกำลังประจำ สร้างอารมณ์ คิดบวก ผ่อนคลายเครียดเป็นนิจ

ลดน้ำหนัก ตัว (ถ้าอ้วน) กินผักและผลไม้ให้มากๆ จะช่วยลดความดันให้ลงสู่ระดับเกือบปกติ ป่วยระดับ 0 สีเขียวเข้ม (น้อยกว่า 139/99) ยาที่กินก็จะลดจำนวนเม็ดยาลงไปด้วย และยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ เขียนได้เกริ่นนำประเด็นต่างๆ ที่ผู้ป่วยเข้าใจ หรือแม้กระทั่งแพทย์ พยาบาล หมออนามัย ต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ชนิด "กัดติด" สีแดง เพื่อป้องกัน "ไม่ให้เกิดวิกฤต" เป็นสีดำคือเป็น "โรคแทรก"

เรา มาสร้างความรู้ความเข้าใจโรคความดันโลหิตสูงแบบง่ายๆ ว่ามันคืออะไร? เกิดได้อย่างไร? อาการและอาการแสดงเป็นอย่างไร? โรคแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง? รักษาป้องกันได้อย่างไร? เพื่อให้เราไม่ป่วยตายก่อนวัยอันควร และอายุยืนยาว 80 ปี ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ประกาศว่า อีก 10 ปี คนไทยจะอายุ 80 ปี



เรื่อง "ความดันโลหิตสูง" หากจะทำความเข้าใจง่ายๆ หัวใจเปรียบเหมือน "เครื่องปั๊ม" ที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายตามหลอดเลือดแดง เทียบกับ "ปั๊มน้ำ" ที่สูบน้ำไปตามท่อยาง 4 หุน โดยปกติท่อยาง 4 หุน ที่อยู่ตามบ้าน ตามธรรมชาติจะมีตะกรันตกตะกอนทำให้รูท่อยางนับวันจะค่อยๆ เล็กลงตามลำดับ และเมื่อใช้ไปนานๆ 5-10 ปี ท่อยางก็จะเสื่อมสภาพ จากที่เคยอ่อนจะแข็งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เปราะแตกง่าย

ส่วน "ปั๊มน้ำ" เวลาสูบน้ำต้องออกแรงดันเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เพราะขนาดรูท่อน้ำเล็กลงค่อยๆ เพิ่มขึ้น และท่อที่แข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลง เพราะฉะนั้นระยะเวลาผ่านไปนานมากขึ้นๆ มากกว่า 20-30-40 ปี ความดันน้ำก็จะสูงขึ้นๆ ตามลำดับ "ปั๊มน้ำ" เปรียบเหมือน "หัวใจคน" เมื่ออายุมากขึ้นกว่า 40-60 ปี "หัวใจ" ก็ต้องปั๊มแรงขึ้นทำงานมากขึ้น หัวใจใช้งานมากขึ้น

ส่วนท่อยางเปรียบเสมือนหลอดเลือดแดง รูที่น้ำหรือเลือดผ่านก็เล็กแคบลงหรือตีบลง "ท่อยาง" หรือหลอดเลือดแดงก็จะแข็งขึ้น เปราะง่ายขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลง และทำให้น้ำหรือเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายๆ ก็จะน้อยลง ถ้าไม่ทำอะไรเลย กินแล้วนอน ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารหวาน มัน เค็ม ผลก็คือ อวัยวะบางอย่างก็จะขาดเลือดไปเลี้ยง เช่น หัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด ไตขาดเลือด ตาบอด ปลายมือปลายเท้าขาดเลือด ทำให้เกิดอาการชา เป็นต้น

"
ความ ดันโลหิต" หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงดันลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดด้วย "เครื่องวัดความดัน" วัดที่ท่อนแขนส่วนบน มี 2 ค่า คือ

1)
ความดันช่วงบน (Systolic Pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ อารมณ์ ปริมาณการออกกำลังกาย

2)
ความดันช่วงล่าง (Diastolic Pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว สำหรับคนปกติจะอยู่ที่ "120/80" มิลลิเมตรปรอท แบ่งความดันในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยระบบ "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี" ดังนี้

1.
กลุ่ม ปกติ สีขาว ความดัน 120/80 มิลลิเมตรปรอท 2.กลุ่มเสี่ยง สีเขียวอ่อน ความดัน 120/80-139/89 มิลลิเมตรปรอท 3.กลุ่มโรค สีเขียวเข้ม เป็นโรคระดับ 0 ความดันน้อยกว่า 139/89 มิลลิเมตรปรอท 4.เป็นโรคระดับ 1 สีเหลือง ความดัน 140/90-159/99 มิลลิเมตรปรอท 5.เป็นโรคระดับ 2 สีส้ม ความดัน 160/100-179/109 มิลลิเมตรปรอท 6.เป็นโรคระดับ 3 สีแดง ความดันมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท 7.เป็นโรคแทรกซ้อน สีดำความดันมากกว่า 200/120 มิลลิเมตรปรอท หากไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยปละละเลยให้ความดันโลหิตสูงประเภทสีแดงนานๆ ไม่ยอมลดเป็นสีส้ม มักจะเกิดความผิดปกติที่อวัยวะสำคัญๆ เช่น หัวใจ สมอง ไต ตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) บางรายเปราะแตกง่ายในที่สุด เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่ได้

โรคแทรกซ้อนสำคัญๆ ควรรู้

โรค หัวใจขาดเลือด เพราะเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลง จะเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดหัวใจวายในที่สุด จะมีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้

โรคเส้นเลือดสมองตีบ แตก จะเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก กลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก พบได้บ่อยมาก อุบัติการณ์สูง เรื้อรังทำให้ความจำเสื่อม อารมณ์ และสมาธิลดลง บางรายอาจจะตายได้รวดเร็ว

ไต เกิดภาวะไตวายเรื้อรังเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงไตแข็ง ตีบลง เลือดไปเลี้ยงไม่พอ มีอาการมึนซึม ปวดศีรษะ เพราะสารยูเรียสูงในเลือด ตรวจปัสสาวะจะพบไข่ขาว เจาะเลือดพบบี ยู เอ็น (BUN) และครีอะตินิน (Creatinine) สูง

ส่วนอวัยวะตา เส้นเลือดแดงเลี้ยงลูกตา จอประสาทตาระยะแรกตีบ ต่อมาจะแตกที่จอภาพเรตินา (Retina) ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยจนตาบอดได้ ตรวจพบด้วย "เครื่องส่องตา" (Ophthalmoscope) โดยจักษุแพทย์

โรคแทรกซ้อนอันเกิดจากความดันโลหิต สูง นอกเหนือจากผลต่อ 4 อวัยวะที่รุนแรงมากถึงตายได้ก่อนวัยอันควร ยังมีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดส่วนปลาย หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เกิดแข็งตัวโป่งพองจะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เป็นลมหรือเป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ ส่วนเส้นเลือดเล็กที่เลี้ยงปลายมือปลายเท้า จะเกิดอาการตีบแข็งตัวทำให้ขาดเลือดเกิดเหน็บชา ตะคริว เกิดการตายของเนื้อเป็นสีดำได้ (Gangrene)



ผู้เขียนกับพี่ น้องสาธารณสุขทั่วประเทศ ได้พยายามหาแนวทางในการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง และลดความรุนแรงในผู้ป่วยที่เป็นโรค และ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สธ. รวมถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมากในการ "ต้อง" เฝ้าระวังกระตุ้นคนไทยทุกคนอายุ 15-65 ปี โดยเฉพาะกลุ่มคนปกติ ต้องรณรงค์สร้างสุขภาพ "3อ" ลด "2ส" ไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย สีเหลือง (ป่วยระดับ 1) กลุ่มเสี่ยงสีเขียวอ่อน ลดมาเป็นกลุ่มปกติ ส่วนกลุ่มป่วย รุนแรงระดับ 3 สีแดง กินยาให้ถูกต้องควบคู่ไปกับ "3อ" "2ส" สร้างสุขภาพให้ดีต่อเนื่อง จริงจังที่เรียก "กัดติด" จะช่วยลดความรุนแรงของโรคเป็นสีส้ม สีเหลืองและสีเขียวเข้ม

ในท้ายสุดจำนวนยาที่เคยกินเพราะอาการรุนแรงก็จะลดลง ผู้ป่วยรุนแรง "สีแดง" ก็จะไม่มีโรคแทรกซ้อน เป็น "สีดำ"

เชื่อ ว่าทุกๆ ท่านก็ไม่อยากเป็น "สีดำ" ซึ่งมันก็บ่งบอกสัญญาณอันตรายของชีวิต เราต้องช่วยกันควบคุมป้องกันเต็มที่เพื่อให้คนไทยอายุยืน เหนืออื่นใด ขอให้ "กำลังใจ" น้องๆ ทีมงาน "แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข" ทุกส่วนทุกระดับ ตั้งแต่กระทรวง กรมต่างๆ สำนัก สสจ., รพศ./รพท., สสอ., รพช., รพ.สต. และ "อสม." ร่วมด้วยช่วยกัน คนละไม้คนละมือ ขจัด "ฆาตกรเงียบ" ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจาก "พฤติกรรมสุขภาพ" โดยการสร้างเจตคติให้เกิดการยอมรับ ปลูกฝังในสิ่งที่ถูกต้องเรื่อง 32 อย่างต่อเนื่อง จริงจัง จนเป็น "วัฒนธรรมวิถีชีวิต" จะเป็นเกราะกันภัยฆาตกรร้ายด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดี

เชื่อมั่นว่า "การเป็นโรครายใหม่จะเกิดน้อยลง" และ "การเป็นโรคแทรกซ้อนรุนแรงก็จะเกิดน้อย" เช่นกัน คนไทยทั้งประเทศก็จะสุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดี "อายุยืนยาว 80 ปี"

...
ปี ใหม่นี้ หากยังคิดไม่ออกว่าจะให้อะไรเป็นของขวัญคนที่ท่านรัก ลองให้เครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อใช้เป็นสัญญาณบอกชีวิตก็จะดีไม่น้อย เพราะนาฬิกาบอกสัญญาณเวลา เครื่องวัดความดันบอกสัญญาณชีวิต ดังนั้น ถึงเวลาหรือยัง? ที่ทุกบ้านจะมีเครื่องวัดความดัน เพื่อป้องกัน "ฆาตกรเงียบ"

หมดโรคส่งท้ายปีเก่า 2555 โชคดีต้อนรับปีใหม่ 2556 ขอให้คนไทยทั้งประเทศ เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ทุกประการ นะครับ......


โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

(ที่มา:มติชนรายวัน 27 ธ.ค.2555)


Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio