ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โรคเมาหมัด

 เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์  ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครับ รีสอร์ท ที่พักย่อมเป็นอะไรที่ง่ายๆ เรียบๆไม่หรูหราและสำคัญคือลับหูลับตา เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง 

 แต่ถึงแม้จะลับหูลับตา แต่การรับทราบข้อมูลข่าวสารสมัยนี้ดูเหมือนจะไม่มีข้อจำกัดเพราะที่รีสอร์ทมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตครับ แต่ช่วงเวลาที่ผมไปอบรม ผมบอกได้เลยว่าผมไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเลย เพราะผมลืมเอาโน๊ตบุ๊คไปด้วย  นั้นทำให้ผมพลาดหลายๆข่าวไปหลายข่าวพอสมควร

  ข่าวที่ผมพลาดไปผมก็กลับมาอ่านใหม่ที่เวบครับ เพิ่งก็เพิ่งทราบวันนี้วัน แมนนี่ ปาเกียว ต่อยกับ ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ  ซึ่งผลการชกก็คงทราบกันทั่วโลกแล้วละครับว่า ปาเกียว แพ้น็อก 

   ซึ่งผลการแข่งขันก็ย่อมมีผู้แพ้-ชนะเป็นเรื่องธรรมดานะครับ แต่ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้ก็คือ หลายๆคนแนะนำให้ปาเกียวเลิกชก และแขวนนวมก่อนจะเป็นโรคเมาหมัด 

  ทำไมต้องแนะนำให้เลิกชก เพราะเกรงว่าจะเป็นโลกเมาหมัด ก็เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมา นักชกผู้ยิ่งใหญ่หลายๆคนที่ รุ่งเรื่อง รุ่งโรจน์ ในห่วงเวลาที่ร่างกายพร้อม และแข็งแกร่ง ต่างได้รับเสียงโห่ร้อง ดีใจ และเชียร์พวกเขาในช่วงนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายอ่อนแรง นักชกผู้ยิ่งใหญ่หลายๆท่าน กลับต้องเผชิญกับโรคเมาหมัด แต่เพียงลำพัง เปรียบเหมือนสุนัขล่าเนื้อ  เมื่อยามโรยรา เจ้าของก็ไม่ต้องการ 

 แล้วโรคเมาหมัดมันคืออะไร  เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า โรคพาร์กินสัน Parkinson ในอดีตคนไทยน้อยคนที่จะรู้จักโรคนี้ ในยุคปัจจุบันคนไทยมี อายุเฉลี่ย ยืนยาวกว่าเดิมมาก คือ ผู้ชายอายุเฉลี่ย ถึง 63 ปี ส่วนผู้หญิงอายุเฉลี่ย 64 ปี (อดีตคนไทยเราอายุเฉลี่ยเพียง 45 ปี) ดังนั้นโรคในผู้สูงอายุจึงพบบ่อยขึ้นมากในคนไทยเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางระบบประสาทที่มีชื่อเรียกว่า โรคพาร์กินสัน

โรค พาร์กินสันนี้เป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ.2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดย นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน แห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรก โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) มีอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการได้แก่

1.อาการ สั่น
2.อาการ เกร็ง และ
3.อาการ เคลื่อนไหวช้า

ใน อดีตโรคดังกล่าวนี้รักษาไม่ได้ และอาการของผู้ป่วยจะเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเคลื่อนไหวไม่ได้เลยต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด ซึ่งในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะ โรคแทรกซ้อน ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างดี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก จึงสมควรจะรู้จักโรคนี้ไว้บ้าง

โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

1.ความ ชราภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน มักพบในผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยพอ ๆ กันในเพศชายและเพศหญิง ไม่มีใครทราบว่าในอนาคตใครจะเกิดโรคนี้บ้างในช่วงวัยชรา แต่จากสถิติอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ในต่างประเทศจะพบราว 1-5 % ในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี สำหรับประเทศไทยเรายังไม่ทราบสถิติของโรคนี้

2.ยา กล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน ซึ่งผู้ป่วยโรคทางจิตเวชจำเป็นต้องได้ยากลุ่มนี้ เพื่อควบคุมอาการคลุ้มคลั่ง เพ้อหรือสับสน ยากลุ่มนี้ในอดีตใช้กันมากในปัจจุบัน ยานอนหลับรุ่นหลัง ๆ ปลอดภัยกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน

3.ยาลดความดันโลหิต สูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทำให้สมองลดการสร้างสารโดปา มีน จึงเกิดโรคพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตามยาควบคุมความดันโลหิตสูงในระยะหลัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่มีผลต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอีกต่อไป

4.หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนน้อยหรือหมดไป

5.สารพิษทำลายสมอง ได้แก่พิษสารแมงกานีสในโรงงาน พิษจากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งสามารถทำให้เซลล์สมองเสื่อมและเกิดโรคพาร์กินสันได้

6.สมองขาดออกซิเจน ในผู้ป่วยจมน้ำ ถูกบีบคอ หรือมีการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหารเป็นต้น

7.อุบัติเหตุ ศีรษะถูกกระทบกระเทือน หรือกระแทกบ่อย ๆ เช่น อุบัติเหตุรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ นักมวยที่ถูกชกศีรษะบ่อย ๆ จนเป็นโรคเมาหมัด เช่น โมฮัมหมัด อาลี เป็นต้น

8.การอักเสบของสมอง

9.โรคพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ที่มีโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง เนื่องจากมีธาตุ
ทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
 

1 ความคิดเห็น:

ต้น กล่าวว่า...

ประวัติคนไข้ที่เป็นโรคเมาหมัดครับ

มือขวาเกร็งๆ และเขียนหนังสือไม่ได้มา 2 ปี
ผู้ป่วยเริ่มสังเกตว่ามือขวาเริ่มผิดปกติเมื่อ 7 ปีก่อนมาโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยทำงานเป็น
เสมียนเวลาจะใช้มือขวาทำอะไรเช่นใช้ยางลบจะทำได้ลำบาก เวลาเขียนหนังสือโดยเฉพาะเวลาจะลงนาม
มือจะเกร็ง กดกระดาษแรงมากจนบางครั้งกระดาษเป็นรอยขาด การใช้มือทำอย่างอื่น เช่น เวลาแปรง
ฟันด้วยมือขวาซึ่งเป็นมือข้างที่ตนถนัดจะใช้แปรงถูฟันไม่ค่อยได้ ในช่วง 4-5 ปีที่เริ่มสังเกตมีอารมณ์
ฉุนเฉียวและรุนแรงผิดปกติ บางครั้งมีอะไรตื้นตันใจจะร้องไห้ออกมาโดยไม่ตั้งใจเช่นเวลาได้ยินเพลงชาติ
หรือเพลงสรรเสริญพระบารมี
ความจำดี นอนหลับดี
ผู้ป่วยเริ่มชกมวยสากลตั้งแต่อายุ 21 ปี ต่อยประมาณ 4-5 ครั้งต่อปี เคยเป็นแชมเปี้ยน
รุ่นแบนตั้มเวทของกองทัพบกและของเวทีราชดำเนิน และหลังจากนั้นแพ้น้อคเมื่อเลื่อนขึ้นไปต่อยรุ่นเฟ
เธอร์เวท ที่ญี่ปุ่นและที่ประเทศไทย มีครั้งหนึ่งที่แพ้น้อคหลังจากชกมีอาการตาพร่า เดินเซจะล้มอยู่
เรื่อยๆ อยู่ระยะหนึ่งก่อนเดินเป็นปกติและชกมวยต่ออีก 2-3 ปี ผู้ป่วยชกทั้งหมด 39 ครั้ง แพ้น้อค 8
ครั้ง ในระยะเวลา 8 ปี
ปกติผู้ป่วยเป็นคนแข็งแรงดี เคยเป็นแผลคุทราดที่ขาขวาเมื่อเด็กๆ

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio