ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ระบาดวิทยากับความเป็นไปเป็นมา


หน่วยย่อยที่  1.1 ความเป็นมา ความหมายและขอบเขตของวิทยาการระบาด

                                           

                                         1.1.1  ความเป็นมาของวิทยาการระบาด

ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการค้นพบเชื้อโรค มีนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์หลายท่านได้พยายามศึกษาวิธีการในการป้องกันหรือรักษาโรคต่าง  ที่เป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นโรคติดเชื้อต่าง การศึกษาในขณะนั้นใช้วิธีสังเกต (Observational) เป็นสำคัญ เช่น เปรียบเทียบลักษณะต่าง ของผู้เจ็บป่วยและไม่เจ็บป่วย สถานที่ที่เกิดโรคต่าง และสถานที่ที่ปลอดจากโรค ทั้งในด้านความสูง ลมฟ้าอากาศ อุณหภูมิ ฯลฯ และเริ่มการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายตามอายุและสาเหตุต่าง ด้วยวิธีการเหล่านี้ ทำให้โรคต่าง ที่เป็นปัญหาในขณะนั้นหลายโรค เช่น อหิวาตกโรคในกรุงลอนดอน ไข้รากสาด การติดเชื้อหลังคลอด สภาวะเจ็บป่วยจากการขาดวิตามินซีในกลาสีเรือ ได้รับการควบคุมและป้องกันให้ดีขึ้น

การศึกษาทางวิทยาการระบาดในสมัยต้น ๆเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโรคระบาด (Epidemic Disease) และโรคติดต่อ (Communicable Disease) เกือบทั้งหมด แต่ในศตวรรษที่ผ่านมาโรคที่เป็นปัญหาของประชาชนเริ่มเปลี่ยนไปเป็นโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Disease) หรือโรคไม่ติดเชื้อ หรือที่เรียกว่าโรคไร้เชื้อ (Non-Infectious Disease) โรคเรื้อรัง (Chronic Disease) และโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (Environmental and Occupational Disease) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่อาจยืนยันการวินิจฉัยโรคได้ยากลำบาก หรือมีระยะอาการแสดงช้า แต่นักวิทยาการระบาดได้พัฒนารูปแบบของการเฝ้าระวัง และการศึกษาทางวิทยาการระบาดให้ครอบคลุมรูปแบบโรคที่เปลี่ยนไป เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำไปป้องกันและควบคุมโรคต่อไป

 

1.1.2  ความหมายและขอบเขตของวิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด หรือ ระบาดวิทยา มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Epidemiology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ดังนี้
EPI                       =  on, upon                   =  บน
DEMOS               =  people, population   =  ประชาชน
LOGOS or LOGY        =  knowledge, study, doctrine, discourse, science
=  ความรู้
รวมกันแล้วแปลความหมาย Epidemiology ตามรากศัพท์ได้ว่า ศาสตร์หรือวิทยาการที่ว่าด้วยปัจจัยต่าง ในประชากร ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างขวางมาก ดังนั้นจึงได้มีคำจำกัดความของวิทยาการระบาด ต่าง ไว้ดังนี้

American Epidemiological Society:
Epidemiology is the science which concerns itself with natural history of disease as it is expressed in group of persons related by some common factors of age, sex, race, location or occupation as distinct from the development of disease in an individual
วิทยาการระบาดเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะการเกิดโรคในกลุ่มชนที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ สถานที่อยู่ หรืออาชีพ แต่จะไม่ใช่การศึกษาธรรมชาติของการเกิดโรคในแต่ละบุคคล

Center for Disease Control, U.S. Public Health Service:
Epidemiology is the study of the patterns of disease and the factors that cause disease in man
วิทยาการระบาดเป็นการศึกษารูปแบบของการเกิดโรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในมนุษย์

Macmahon and Pugh:
Epidemiology is the study of distribution and determinants of disease prevalence (or frequency) in man
วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาถึงการกระจายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในมนุษย์

Last:
Epidemiology is the study of the distribution and determinants of health-related states or events in specified populations, and the application of this study to control of health problems
วิทยาการระบาดเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายหรือตัวกำหนดของภาวะสุขภาพในมนุษย์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio