ขับเคลื่อนโดย Blogger.

แนวคิด การ บริหาร เวลา

หากท่านเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในเรื่องของสอบบรรจุเป็นนักวิชาการสาธารณสุข แต่สอบยังไงก็สอบไม่ได้สักที ซึ่งอาจเนื่องมาจากท่านไม่มีเวลาในการอ่านหนังสือเพื่อที่จะสอบเป็นนักวิชาการสาธารณสุขให้ได้ ท่านเองอาจมักมีสิ่งต่างๆที่มาคอยขัดจังหวะในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งสิ่งที่มาขัดจังหวะนั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ความฝันในการเป็นนักวิชาการสาธารณสุขยังคงเป็นความฝันจวบจนนิรันดร์

ดังคำที่ว่า "ไม่มีสิ่งใดที่จะได้มาโดยไม่เสียสิ่งใด" หากท่านต้องการจะป็นนักวิชาการสาธารณสุข ท่านต้องจัดการ ต้องกำจัด  ต้องตัดทิ้งกิจกรรมบางอย่างที่เป็นสิ่งที่คอยขัดขวางให้ความฝันที่ท่านต้องการเป็นจริง ยกตัวอย่าง การดูหนังที่ท่านโปรดปราน การฟังเพลงทีละ 5 ชั่วโมง การได้พูดคุยกับสาวอันเป็นที่หมายปอง เป็นต้น

มีเครื่องมือชนดหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านจัดการกับสิ่งที่คอยขัดขวางไม้ให้ท่านประสบความสำเร็จ(การสอบเป็นนักวิชาการสาธารณสุข) เครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งสามโลกที่ว่านี้คือ ตารางบริหารเวลาครับ

เหตุที่ต้องบริหารจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ ก็เพราะว่าคนเรามีเวลา  24 ชั่วโมงเท่ากัน ดังนั้นหากใครใช้เวลาที่มีอยู่จำกัดเพื่อประโยชน์สูงสุด คนผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชนะ  และประสบความสำเร็จในทุกๆด้านครับ

หลักหารบริหารเวลา จะแบ่งงานเป็น 4 ประเภทนะครับ
1.งานสำคัญและเร่งด่วน
2.งานไม่สำคัญแต่งานเร่งด่วน
3.งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน
4.งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน


งานประเภทสำคัญและเร่งด่วน 
งานประเภทนี้ก็เป็นงานที่สำคัญ...ทำไม่เสร็จโดนเจ้านายด่าเละแน่ครับ
แรกเริ่มเดิมที...นานแรมปีแล้วงานประเภทนี้จะเป็นงานที่สำคัญครับ..แต่มันมันเร่งด่วน
กาลเวลาผ่านพ้นไปเป็นปี...ความสำคัญเท่าเดิมแต่คาวมเร่งด่วนเพิ่มพูนทวีเป็น 100 เท่า
ยกตัวอย่าง  สมัยเป็นนักเรียน อาจารย์จะสั่งให้ทำรายงานในวันเปิดเรียนวันแรก มีกำหนดส่งก่อนสอบปลายภาค แต่เราไม่ยอมทำจนเหลือเวลา 1 วันค่อยมาทำ งานประเภทนี้เป็นงานที่สำคัญและเร่งด่วนครับ

 งานประเภทสำคัญแต่ไม่เร่งด่วนครับ
งานประเภทนี้จะเป็นงานที่มีกำหนดการตายตัวในการส่งมอบนะครับ ไม่ว่าจะเป็นกำหนดสอบ การทำการบ้าน การเตรียมข้อมูงเข้าประชุม  ส่วนนี้สำคัญมากครับ ผมไม่รู้จะเขียนอะไร เพราะผมก็ยังจัดการไม่ได้

งานไม่สำคัญแต่งานเร่งด่วน
งานประเภทนี้ผมคุ้นเคยดีครับ หลักๆเลยที่ผมเจอก็คือการพบปะสรรค์ๆกินเหล้าฟังเพลงกับเพื่อนๆที่นานๆๆเจอกันที ทั้งๆที่รู้ว่าอีก 2 วันผู้ตรวจจะเข้าและเอกสารรูปเล่มข้อมูลต่างๆยังไม่เสร็จ แต่ผมก็เลือกจะไปกับเพื่อนนะครับ 


งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน 
งานประเภทนี้ก็งานเลี้ยงทั่วไป เช่น งานบุญบั้งไฟบ้านโน่น บ้านนี้ บ้านนั้น ไปร่วมด้วยหมด ทั้งๆที่ไม่ไปก็ไม่มีใครสนใจ หรือไม่ก็งานประเภทเข้ามาเช็คว่ามีใครมากดlikeเราบ้าง อะไรประมาณนั้น

เมื่อเราแบ่งงานออกเป็นประเภทต่างๆได้แล้วสิ่งสำคัญคือเราต้องบริหารจัดการมันให้ได้
แล้วจะบริหารจัดการอย่างไรละครับ...(ผมถามคำถามนี้ตอนโดนอาจารย์สอนมาอีกที)

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากเป้าหมายในใจเราครับ
ถ้าผมต้องการเรียนให้ได้ A ทุกรายวิชา (เป้าหมายหลัก)
ผมก็ต้องมาหากิจกรรมอะไรหรือผมต้องทำอะไรบ้างเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
ขั้นตอนนี้ผู้รู้แนะนำให้ทำเป็นรายสัปดาห์นะครับ
เช่นต้องอ่านbioให้จบ...เป็นงานที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน(สมมุติสอบตอนปลายเดือนธันวาคม)
ผมก็ต้องมาย่อยกิจกรรมเป็น สัปดาห์นี้ต้องอ่านbioจบ 1บท โดยอ่านวันละ 2 ชั่วโมงเวลา 22.00-0.00น.  ครับเราต้องล็อคเวลา ต้องให้ความสำคัญกับมัน อย่าให้งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน และงานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนมาขัดจังหวะเราได้ครับ


ที่เขียนๆพิมพ์ๆใช่ว่าผมจะทำได้นะครับ แค่เขียนไว้เตือนตัวเอง เพราะมีเป้าหมายใหญ่รออยู่อีก 3 เดือน  


1 ความคิดเห็น:

ton กล่าวว่า...

เพิ่มเติมครับ
กระบวนการจัดตารางเวลาสํ าหรับการทํ ากิจกรรมที่สํ าคัญแต่ไม่เร่งด่วน
ประกอบด้วย
1. เชื่อมโยงวิสัยทัศน์และปณิธานหรือทิศทางในการดํ าเนินชีวิตกับการจัดการเวลา
โดยกำ หนดปณิธานหรือทิศทางในการดำ เนินชีวิตและการจัดการเวลาให้มีความสอดคล้อง
และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. กํ าหนดบทบาทและทบทวนบทบาทของตนเอง โดยพิจารณาถึงการเติมเต็ม
ความต้องการและขีดความสามารถของมนุษย์ 4 ประการ เป็นหลัก เพื่อแบ่งแยกความ
แตกต่างของกิจกรรมที่สำ คัญและกิจกรรมที่เร่งด่วน การจัดลำ ดับกิจกรรม และความสม
ดุลระหว่างบทบาทและการจัดการเวลา
3. กํ าหนดเป้าหมายของกิจกรรมสํ าหรับแต่ละบทบาท โดยให้ความสำ คัญต่อกิจ
กรรมที่สำ คัญที่สุดที่สามารถทำ ได้ในแต่ละบทบาทและในแต่ละสัปดาห์
4. จัดทํ าตารางหรือแผนการตัดสินใจประจํ าสัปดาห์ โดยให้ความสำ คัญต่อกิจ
กรรมที่สำ คัญแต่ไม่เร่งด่วนเป็นอันดับแรก
5. ปฏิบัติตนอย่างมีหลักการ คือ การปฏิบัติตามตารางหรือแผนที่กำ หนดไว้
6. ประเมินผล โดยสำ รวจว่าในเวลา 1 สัปดาห์ สามารถปฏิบัติตามตารางและ
บรรลุถึงเป้าหมายที่กำ หนดไว้หรือไม่ เพื่อนำ ผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการจัด
การหรือการบริหารเวลาต่อไป

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio