ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ข่าวการบรรจุ


 ข่าวที่เกี่ยวข้องกับเหล่าทีมสุขภาพครับ 
บังเอิญไปเจอมา...เพราะถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรง...เศร้า...น้ำตาท่วมจอ
เริ่มแรกจากพยาบาลลูกจ้างนักเรียนทุน...ทำงานมา 7 ปี...ยังไม่รับการบรรจุ
ตามมาด้วยเวชสถิติ...และพนักงานของรัฐ...ตามมาเรีบกร้อง
หลายๆเหตุ...หลายๆปัจจัย..คงต้องตามดูว่า เหล่าทีมสุขภาพจะได้ดังหวังหรือไม่ 
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆอาชีพครับ 

"เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 ธ.ค. ที่สำนักงาน นโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตัวแทนลูกจ้างชั่วคราวกระทรวงสาธารณสุข 8 สายงาน ประกอบด้วย เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา ทันตาภิบาล เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน เจ้าพนักงานแพทย์แผนไทย และเจ้าพนักงานพยาธิวิทยาคลินิก กว่า 100 คน เดินทางมาเรียกร้องขอให้พิจารณาจัดสรรอัตราบรรจุข้าราชการให้กับลูกจ้างชั่ว คราวทั้ง 8 สายงานด้วย หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้อัตราบรรจุข้าราชการ สธ. ประมาณ 22,000 อัตรา แบ่งบรรจุเป็นเวลา 3 ปี โดยได้เข้าพบและหารือกับ นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผอ. สถาบันพระบรมราชชนก และ ผอ.กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ทั้งนี้ นายวินัย สุภาพจน์ เจ้าพนักงานเวชสถิติ รพ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวภายหลังการหารือว่า ทางสธ.รับปากว่าจะนำทั้ง 8 สายงานเข้าไปร่วมพิจารณาด้วย

ช่วงเย็นวัน
เดียวกัน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ. กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานจัดทำกรอบอัตรากำลังเพื่อบรรจุแต่งตั้ง ลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ประจำปีงบประมาณ 2556 ว่า ที่ประชุมมีความเห็นว่าสายงานวิชาชีพที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการมี ทั้งสิ้น 25 สายงาน ครอบคลุมสายงานวิชาชีพทั้งหมดใน สธ. โดยผู้ที่จะได้รับพิจารณาให้ได้รับบรรจุลอตแรกในปี 2556 คือ ลูกจ้างชั่วคราวที่มีอายุงานก่อนปี 2549-2551 และสถานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั้งใน รพ.ชุมชน (รพช.) รพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)รพ.ศูนย์ (รพศ.)/รพ.ทั่วไป (รพท.) ที่มีภาระงานมาก โดยจะได้รับจัดสรรอัตราบรรจุในสัดส่วนที่เหมาะสม และวันที่ 22 ธ.ค.จะมีการชี้แจงแนวทางการดำเนินการในการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้า ราชการ จากนั้นสัปดาห์หน้าจะหารือร่วมกับสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับ ร่างระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (ก.สธ.) คาดว่าน่าจะเริ่มปรับลูกจ้างชั่วคราวที่รอการบรรจุข้าราชการ เป็นพนักงาน ก.สธ. ได้ในเดือน ม.ค.2556 พร้อมกับการบรรจุข้าราชการลอตแรก"

สปิริตโชว์

ภาพกิจกรรมห้องเชียร์ของ วสส.พล.

กีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์ถือเป็นประเพณีที่จังหวัดทุกจังหวัดจะจัดแข่งขันกีฬา เพื่อคัดเลือกตัวนักกีฬา และถือเป็นโอกาสในการจัดเลี้ยงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ด้วย  เรีบกได้ว่าเป็นการทำงานแบบบรูณาการที่ลงตัวและตอบสนองต่อนโยบาย "งานสำเร็จ คนสำราญ" ได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีคำว่ากีฬา...ต้องมีคำว่า สปิริตนักกีฬาตามมาด้วยเสมอๆ
ผมเองได้ยินคำว่า สปิริต มานานแสนนานตั้งแต่จำความได้



เริ่มแรกเข้าใจเพียงแค่ว่า...เป็นการเตะบอลออกข้างสนามเมื่อมีผู้เล่นฝั่งตรงข้ามบาดเจ็บ 
เป็นนิยามแบบเด็กๆที่ผมเคยเข้าใจ 

เมื่อย่างเข้าสู่วัยที่ต้องเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่คณะสาธารณสุข ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผมพลันได้ยินว่าว่าสปิริตโชว์จากรุ่นพี่
เกิดความฉงนสงสัย...งงงวย...ไม่รู้จะโชว์อย่างไร
เพราะตอนนั้นรุ่นพี่บอกว่า สปิริต หมายถึง จิตวิญาณ  ซึ่งเป็น 1 ใน 4 คำ ของระบบ SOTUS

จวบจนเวลาล่วงเลยจนการแข่งขันกีฬาของเด็กปีหนึ่งจบลง
ผมจึงเกิดนิยามของคำว่าสปิริตใหม่..นิยาทที่ผมคิดเอง เออเอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกีฬาเด็กปี 1 ...นั้นหมายถึงเด็กปี 1 ต้องร่วมกันโชว์สปิริต
การร้องเพลงเชียร์...ที่ต้องถูกต้องตามทำนอง
การตบมือให้เข้าจังหวะ...และพร้อมเพียง
การแปรรูปบนสแตน...ตามกำหนดที่ได้นัดหมายกัน

ทั้งหมดล้วนต้องอาศัยการฝึกซ้อมที่หนักหน่วง
ต้องเสียสละวันหยุดที่ต้องกลับบ้านไปหาแฟน
ต้องสละเวลาในการทบทวนบทเรียนที่ต้องสอบ
แน่นอน...หากไร้ซึ่งสปิริต...ไร้ซึ่งจิตวิญาณ...ไม่มีทางทำได้ครับ 

ผมบอกได้เลยครับว่าเด็กปี 1 คนไหนที่ไม่ได้ร่วมเชียร์
เด็กคนนั้นจะขาดประสบการณ์ที่ยากลำบาก...ขาดรสชาติของชีวิต...ยากที่จะสำเร็จได้



โรคเมาหมัด

 เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์  ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครับ รีสอร์ท ที่พักย่อมเป็นอะไรที่ง่ายๆ เรียบๆไม่หรูหราและสำคัญคือลับหูลับตา เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง 

 แต่ถึงแม้จะลับหูลับตา แต่การรับทราบข้อมูลข่าวสารสมัยนี้ดูเหมือนจะไม่มีข้อจำกัดเพราะที่รีสอร์ทมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตครับ แต่ช่วงเวลาที่ผมไปอบรม ผมบอกได้เลยว่าผมไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตเลย เพราะผมลืมเอาโน๊ตบุ๊คไปด้วย  นั้นทำให้ผมพลาดหลายๆข่าวไปหลายข่าวพอสมควร

  ข่าวที่ผมพลาดไปผมก็กลับมาอ่านใหม่ที่เวบครับ เพิ่งก็เพิ่งทราบวันนี้วัน แมนนี่ ปาเกียว ต่อยกับ ฮวน มานูเอล มาร์เกวซ  ซึ่งผลการชกก็คงทราบกันทั่วโลกแล้วละครับว่า ปาเกียว แพ้น็อก 

   ซึ่งผลการแข่งขันก็ย่อมมีผู้แพ้-ชนะเป็นเรื่องธรรมดานะครับ แต่ประเด็นที่น่าสนใจในข่าวนี้ก็คือ หลายๆคนแนะนำให้ปาเกียวเลิกชก และแขวนนวมก่อนจะเป็นโรคเมาหมัด 

  ทำไมต้องแนะนำให้เลิกชก เพราะเกรงว่าจะเป็นโลกเมาหมัด ก็เพราะว่าในอดีตที่ผ่านมา นักชกผู้ยิ่งใหญ่หลายๆคนที่ รุ่งเรื่อง รุ่งโรจน์ ในห่วงเวลาที่ร่างกายพร้อม และแข็งแกร่ง ต่างได้รับเสียงโห่ร้อง ดีใจ และเชียร์พวกเขาในช่วงนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายอ่อนแรง นักชกผู้ยิ่งใหญ่หลายๆท่าน กลับต้องเผชิญกับโรคเมาหมัด แต่เพียงลำพัง เปรียบเหมือนสุนัขล่าเนื้อ  เมื่อยามโรยรา เจ้าของก็ไม่ต้องการ 

 แล้วโรคเมาหมัดมันคืออะไร  เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า โรคพาร์กินสัน Parkinson ในอดีตคนไทยน้อยคนที่จะรู้จักโรคนี้ ในยุคปัจจุบันคนไทยมี อายุเฉลี่ย ยืนยาวกว่าเดิมมาก คือ ผู้ชายอายุเฉลี่ย ถึง 63 ปี ส่วนผู้หญิงอายุเฉลี่ย 64 ปี (อดีตคนไทยเราอายุเฉลี่ยเพียง 45 ปี) ดังนั้นโรคในผู้สูงอายุจึงพบบ่อยขึ้นมากในคนไทยเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางระบบประสาทที่มีชื่อเรียกว่า โรคพาร์กินสัน

โรค พาร์กินสันนี้เป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ.2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดย นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน แห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรก โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) มีอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการได้แก่

1.อาการ สั่น
2.อาการ เกร็ง และ
3.อาการ เคลื่อนไหวช้า

ใน อดีตโรคดังกล่าวนี้รักษาไม่ได้ และอาการของผู้ป่วยจะเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเคลื่อนไหวไม่ได้เลยต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด ซึ่งในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะ โรคแทรกซ้อน ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างดี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก จึงสมควรจะรู้จักโรคนี้ไว้บ้าง

โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

1.ความ ชราภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน มักพบในผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยพอ ๆ กันในเพศชายและเพศหญิง ไม่มีใครทราบว่าในอนาคตใครจะเกิดโรคนี้บ้างในช่วงวัยชรา แต่จากสถิติอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ในต่างประเทศจะพบราว 1-5 % ในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี สำหรับประเทศไทยเรายังไม่ทราบสถิติของโรคนี้

2.ยา กล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน ซึ่งผู้ป่วยโรคทางจิตเวชจำเป็นต้องได้ยากลุ่มนี้ เพื่อควบคุมอาการคลุ้มคลั่ง เพ้อหรือสับสน ยากลุ่มนี้ในอดีตใช้กันมากในปัจจุบัน ยานอนหลับรุ่นหลัง ๆ ปลอดภัยกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน

3.ยาลดความดันโลหิต สูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทำให้สมองลดการสร้างสารโดปา มีน จึงเกิดโรคพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตามยาควบคุมความดันโลหิตสูงในระยะหลัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่มีผลต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอีกต่อไป

4.หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนน้อยหรือหมดไป

5.สารพิษทำลายสมอง ได้แก่พิษสารแมงกานีสในโรงงาน พิษจากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งสามารถทำให้เซลล์สมองเสื่อมและเกิดโรคพาร์กินสันได้

6.สมองขาดออกซิเจน ในผู้ป่วยจมน้ำ ถูกบีบคอ หรือมีการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหารเป็นต้น

7.อุบัติเหตุ ศีรษะถูกกระทบกระเทือน หรือกระแทกบ่อย ๆ เช่น อุบัติเหตุรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ นักมวยที่ถูกชกศีรษะบ่อย ๆ จนเป็นโรคเมาหมัด เช่น โมฮัมหมัด อาลี เป็นต้น

8.การอักเสบของสมอง

9.โรคพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ที่มีโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง เนื่องจากมีธาตุ
ทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา
 

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio