“วันไข้เลือดออกอาเซียน”
ไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นที่อยู่คู่กับคนไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2501 มาจนถึงปัจจุบัน แนวโน้ม
ระบาดปีเว้นสองปี โดยมียุงลายที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจากคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่คนอื่น
ยุงลายมักออกหากินตอนกลางวัน หลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในที่ๆมีน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ ภาชนะ
กักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่ม
เสี่ยง และใช่ว่าโรคนี้จะเว้นที่ให้กับผู้ใหญ่หรือคนแก่เฒ่า เพราะเคยมีรายงานผู้ป่วยที่มีอายุกว่า 80 ปียังป่วย
ด้วยโรคนี้ ทั้งนี้ เด็กที่ชอบซุกซน เยาวชนที่เพลินอยู่กับเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือวัยรุ่นที่ชอบนุ่งสั้น ล้วนเอื้อต่อ
โอกาสการถูกยุงลายกัดได้ง่ายเช่นกัน แต่การระมัดระวังตนเองเพียงลำพังก็ไม่อาจจะป้องกันโรคนี้ได้มากนัก
เพราะโรคนี้เกิดจากยุงลายที่จะบินไปบ้านใครก็ได้ตามอำเภอใจ ฉะนั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจที่จะเป็น
กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน ระดับหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ประเทศ หรือ
ระดับภูมิภาค เพราะไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประเทศในแถบร้อนชื้น
หลายๆ ประเทศของเอเซียก็มีปัญหาในการควบคุมโรคนี้เช่นกันเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะต่อการ
เกิดของยุงลายนั่นเอง ในปี 2554 ( ค.ศ. 2011) กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ที่ประชุมมีมติ ร่วมกัน
กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น ASEAN Dengue Day (วันไข้เลือดออกอาเซียน)
และ ปี 2554 ( ค.ศ. 2011) เป็นปีแรกของการร่วมรณรงค์ระดับอาเซียน ทั้งนี้ กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรค
ไข้เลือดออกดำเนินการในส่วนของตนเอง ด้านประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้หาพันธมิตรที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง มาร่วมกันกำหนดมาตรการจัดการปัญหาไข้เลือดออก คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการเฝ้าระวัง
ป้องกันโรค จัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในจังหวัด อำเภอ ตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชนให้สะอาด
ปราศแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ภายใต้ Theme : Big Cleaning Day “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย”
โดยการ
เก็บ 1. เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำ เช่นขวด กล่อง ถุงพลาสติก แก้วน้ำ ยางรถยนต์เก่า ที่ทิ้งขว้างไว้
เพราะเมื่อมีฝนหรือน้ำตกค้างจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้เป็นอย่างดี
เก็บ 2. เก็บกวาดบ้านให้สะอาดปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและเกาะพักของยุงลาย
เก็บ 3. เก็บน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาดมิดชิด โดยการปิดฝาโอ่งไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
เก็บ 4. เก็บล้างภาชนะใส่น้ำ เช่นแจกัน อ่าง ถัง เพื่อขจัดไข่และลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์
เก็บ 5 เก็บแล้วรวย เก็บวัสดุรีไซด์เคิลที่เหลือใช้ไปขายเป็นรายได้เสริม
และที่สำคัญต้องพร้อมใจกันทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ รวมทั้งต้องร่วมใจกันเผยแพร่ข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้
ทุกครัวเรือนหันมาดูแลเอาใจใส่บ้านเรือน จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ให้ข้อมูล
ข่าวสารให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น และระดมความคิดที่หลากหลาย ในการกำจัดยุงตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ท้องถิ่น
จนเกิดเป็นนวัตกรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะสามารถจัดการกับปัญหาโรค
ไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลงอื่นๆ ได้
คลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น