"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้ได้ครับ คือเนื่องจากผมเป็นคนที่สมาธิสั้นมากๆๆผมจึงอ่านหนังสือไม่ได้นาน ดังนั้นผมจึงได้ตั้งกฏเหล็กขึ้นมา1ข้อครับ ก็คือผมตั้งทำข้อสอบครั้งละ 10 ข้อทันทีหลังจากตื่นนอนครับ ทำอีก10ข้อตอนเที่ยง และก่อนนอนทำอีก 10 ข้อ ครับ ฟังดูอาจน่าหัวร่อแต่มันเป็นวิธีเดียวที่ผมจะสามารถทำข้อสอบได้วันละ 30 ข้อครับ และผมคิดว่ากฏนี้เป็นเคล็ดลับที่ทำให้ผมได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขครับ เชิญท่านๆที่มุ่งหวังจะสอบบรรจุเป็นนักวิชาการสาธารณสุขได้ลองทำข้อสอบได้ครับ ข้อสอบนี้ผมไปเจอที่เวบนักวิชาการก็เลยเอามาบันทึกเก็บไว้อ่าน หากท่านใดผ่านมาแล้วบังเอิญต้องเป็นสอบบรรจุเป็นนักวิชาการสาธารณสุขหรือหมออนามัยก้เชิยได้ตามสะดวกครับ"
1.การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ คือ ข้อใด
ก. Acceptable risk ข. Health Risk Assessment
ค. Health Risk Management ง. White Paper on Chemicals
ตอบ ข้อ ค. เพราะ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ (Health Risk Management) เป็นกระบวนการของฝ่ายบริหารที่จะคัดเลือก และนำเอาข้อมูลที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ (Health Risk Assessment) มาใช้ในการหามาตรการที่เหมาะสมที่สุดในบริหารจัดการเพื่อลดการเสี่ยงอันตรายของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คนปัจจุบัน คือ ใคร
ก. นายวิทยา บุรณศิริ ข. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
ค. นายมานิต ธีรตันติกานนท์ ง. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
ตอบ ข้อ ก. เพราะ นายวิทยา บูรณศิริ อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2554
3. .ในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด
ก. ความเป็นธรรมและทั่วถึง ทั่วประเทศ ข. การเข้าถึงการรักษาประชาชนอย่างทั่วถึง
ค. การขาดทุนของรัฐบาล ง. ความเสี่ยงกับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
ตอบ ข้อ ง. เพราะ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นการหามาตรการที่เหมาะสมที่สุดในบริหารจัดการเพื่อลดการเสี่ยงอันตรายของประชาชนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพน้อยที่สุดซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้จากการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ
4.พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ให้ไว้ ณ วันที่ใด
ก. วันที่ 12 มกราคม 2554 ข. วันที่ 12 เมษายน 2554
ค. วันที่ 12 มิถุนายน 2554 ง. วันที่ 12 กรกฎาคม 2554
ตอบ ข้อ ก. เพราะ พระราชบญญ ัติความปลอดภยั อาชวอนามัยและสภาพแวดลอมในการท ำงาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ ใหไว้ ้ ณ วนที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
5.กรณีมีเรื่องเกี่ยวกับ โรคระบาด หรือพบเห็น ควรแจ้งกรมควบคุมโรค เบอร์กลางใด
ก. 1550 ข. 1422
ค. 1332 ง. 1134
ตอบ ข้อ ข. เพราะ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เปิดสายด่วน Call center 1422 ในการให้บริการกับสังคม ให้บริการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรค การป้องกันและรักษา ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน ขั้นตอนการตรวจ ความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัส คำแนะนำเกี่ยวกับการทำความสะอาดการฆ่าเชื้อ และความรู้เรื่องหน้ากากอนามัย รวมถึงการร้องเรียน การแจ้งเหตุต่าง ๆ
6.ข้อใดคือยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่
ก. การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ ข.การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
ค. การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ ง. ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ ข้อ ง. เพราะ วิธีการดำเนินงานตาม กฎบัตรอ๊อตตาวา ประกอบด้วย
1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Building Healthy Public Policy)
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Creating Supportive Environment for Health)
3. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน (Strengthen community activities)
4. การปรับเปลี่ยนการให้บริการสุขภาพ (Reoriented health service)
5. การพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion workforce) ต้องสร้างนักส่งเสริมสุขภาพ
7.ข้อใดไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
ก. โรคไข้เหลือง ข. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
ค. บาดทะยัก ง. โรคซึมเศร้า
ตอบ ข้อ ง. เพราะ โรคซึมเศร้า ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นโรคทางระบบประสาท
8.มีอาการไข้นำมาก่อน ต่อมามีเยื่อบุหนังตาอักเสบ มีอาการคล้ายเป็นหวัด หลอดลมอักเสบและมีจุดสีแดงที่เยื่อบุแก้ม หลังจากมีไข้ประมาณ 3-7 วัน จะมีผื่นปรากฎที่บริเวณหน้า ต่อมาผื่นจะปรากฏทั้งตัวอยู่นาน 4-6 วัน แล้วจะลอกออกไป ปรากฎเป็นสีแดงคล้ำอยู่หลายวัน เป็นโรคอะไร
ก. ไข้หัด ข.ไข้หัดเยอรมัน
ค. ไข้รากสาด ง. ไข้เหลือง
ตอบ ข้อ ก. เพราะเป็นอาการแสดงและข้อบ่งชี้ทางคลินิกของโรคหัด Measles เป็นโรคติดต่อโรคหนึ่งมักเป็นกับเด็กเล็ก 9 เดือน- 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ มักจะระบาดตอนฤดูหนาวถึงฤดูร้อน
9. โรคติดต่อใดที่กรมอนามัยโลกได้กำหนดให้ประเทศหรือเขตดินแดนติดต่อโรคดังกล่าว ต้องมีความแจ้งข่าวเมื่อมีการเกิดระบาดหรือเป็นโรคประจำท้องถิ่น
ก. ไข้หัด ข.ไข้หัดเยอรมัน
ค. ไข้รากสาด ง. ไข้เหลือง
ตอบ ข้อ ง. เพราะ โรคไข้เหลือง (yellow fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน พบการระบาดในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ โรคนี้เป้นโรคเก่าแก่ที่รู้จักกันมานานกว่า 400 ปีแล้ว การติดเชื้อไวรัสก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงจะแยกไม่ออกจากโรคติดเชื้อชนิดอื่น ในรายที่รุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะตับวายและไตวาย ส่วนใหญ่พบในทวีปอเมริกาและทวีปแอฟริกา
10. . การป้องกันบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานสารเคมี คือ ข้อใด
ก. ไม่ควรให้ผู้ดื่มสุราหรือของมึนเมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี
ข. เจ้าของสวนส้มควรส่งพนักงานผู้รับผิดชอบในการปฐมพยาบาล
ค. คนงานที่ฉีดพ่นสารเคมีต้องสวมเสื้อผ้า หมวก ถุงมือ
ง. มีระบบประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษา
ตอบ ข้อ ก. เพราะการไม่ให้ผู้ดื่มสุราหรือของมึนเมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี เป็นการป้องกันที่ตัวบุคคลที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงซึ่งเป็นคนเมานั่นเอง
11. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากประเทศใดเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ควบคุมและการรักษาพยาบาลด้านโรคจากการประกอบอาชีพโดยเฉพาะโรคพิษสารเคมี
ก. สิงคโปร์ ข. จีน
ค. ญี่ปุ่น ง. เกาหลี
ตอบ ข้อ ข.
12. ในพื้นที่มาบตาพุด พร้อมเก็บพิกัดทางภูมิศาสตร์ พบว่า ประชาชนที่อยู่ในชุมชนดังกล่าวอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัยสุขภาพต่อสารใด ซึ่งมาจากอุตสาหกรรม การจราจรและการขนส่ง
ก. สารกัมมันตรังสี ข.ควันพิษจากโรงงาน
ค. สารเบนซีน ง. สารตะกั๋ว
ตอบ ข้อ ค.
13.จำนวนประชากรของประเทศ ปี 2550 มี 71 ล้านคน ประกอบไปด้วยผู้มีงานทำร้อยละเท่าไร
ก. ร้อยละ 50 ข. ร้อยละ 53
ค. ร้อยละ 60 ง. ร้อยละ 63
ตอบ ข้อ ข.
14. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
ก. ขนาดของปัญหา
ข. ความรุนแรงของปัญหา
ค. ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา
ง.การมีส่วนร่วมของหน่วยงานเฉพาะภาครัฐเท่านั้น
ตอบ ข้อ ง.
15.ในภาคเกษตรกรรม โรคใดเป็นอันดับ 1 ของโรคประกอบวิชาชีพเกษตรกรรม
ก. สารก่อโรคภูมิแพ้ ข. โรคพยาธิใบไม้
ค. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ง. โรคไข้มาลาเลีย
ตอบ ข้อ ค.
16.จากภาคเกษตรกรรม ผู้เสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีใด มีถึงร้อยละ 29.4
ก. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ข. สารตะกั่ว
ค. สารออร์กาโนฟอสเฟต ง. สารหนูปนปรอท
ตอบ ข้อ ค.
17. ผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม ที่กำลังเป็นปัญหา คือข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก. สารเคมีรั่วไหลที่คลองเตย มีผู้เสี่ยง 105 ราย
ข. การปนเปื้อนสารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี ผู้เสี่ยง 5,000 ราย
ค. การปนเปื้อนของแคดเมียม จ.ลำปาง ผู้เสี่ยง 6,802 ราย
ง. สารหนูปนเปื้อน จ.นครศรีธรรมราช ผู้เสี่ยง 28,000 ราย
ตอบ ข้อ ค. แคมเมียมอยู่จ. ตาก
18.ในภาคอุตสาหรรมและภาคบริการ มีผู้ทำงานร้อยละเท่าไรของประเทศ
ก. ร้อยละ 50 ข. ร้อยละ 53
ค. ร้อยละ 57 ง. ร้อยละ 60
ตอบ ข้อ ค.
แนวข้อสอบสาธารณสุขฉบับไฟลนก้น
ป้ายกำกับ:
ข้อสอบสาธารณสุข
View Posts Recommended By Other Readers :
ข้อสอบสาธารณสุขคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น