เข้าไตรมาส 2 จะย่างเข้าไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2553 แล้ว ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ครูบาอาจารย์ท่านพร่าบอกพวกเรามานานไว้ว่าเป็น Golden Period ที่จะจัดการกับโรคไข้เลือดอก ได้ดีที่สุด เพราะว่าช่วงหน้าแล้ง แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ายุงลายก็น้อยลง จานวนยุงลายตัวเต็มวัยก็ลดลงเพราะอุณหภูมิ ความชื้นยังไม่เหมาะสม เชื้อเดงกี่ไวรัส ที่อยู่ในวงจรระหว่างคน กับยุงก็ลดลง ถ้าหากมีการจัดการได้ดีในช่วงนี้ โอกาสที่จะมีการการบาดที่มาอย่างรวดเร็วหรือไม่คาดคิด รวมทั้งการระบาดใหญ่ๆ ก็จะลดลงลงไปในฤดูฝน (ถ้าทาได้)
จากสถานการณ์ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา พบว่าปรากฏการณ์ในเรื่องรูปแบบของการเกิดโรค
( Pattern of dengue ) ที่เคยทานายได้ค่อนข้องแม่นยา เช่น เกิดปีเว้นปี หรือ 2ปีเว้น 2 ปี ได้เปลี่ยนไป ดังกร๊าฟแสดงอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 และลักษณะของการเกิดโรคในฤดูหนาวต่อฤดูแล้งก็เปลี่ยนไปจากการพบจานวนผู้ป่วยเล็กน้อยหรือไม่พบเลยในช่วงปลายปีต่อต้นปี กลายมาเป็นพบผู้ป่วยมากขึ้นและเป็นกลุ่มก้อนก็มี
ทาไมถึงเป็นอย่างนี้
ก็พอจะวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและยุงลาย อันเนื่องมาจากภาวะโรคร้อน ฝนที่ตกไม่เป็นฤดูกาล ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้า ทาให้ประชาชน หาภาชนะมาเก็บน้ามากขึ้น ประเทศเขตหนาวกลายเป็นเขตอบอุ่นขึ้น เช่น ภูฏาน พบผู้ป่วยรายแรกในปี 2547 และในปี 2548 มีรายงานพบผู้ป่วยที่เนปาล ทั้งที่ไม่เคยมีรายงานโรคไข้เลือดออกมาก่อน (1) และในประเทศไทยที่ไม่เคยพบไข้เลือดออกในภูเขาสูง ก็พบการระบาดใหญ่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า บ้านซาเจ๊าะ ตาบลแม่ไร่ อาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นต้น ซึ่งสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น ทาให้วงจรชีวิตของยุงพัฒนาการฟักตัวเร็วขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนยังทาให้ลูกน้ากลายเป็นยุงเร็วขึ้น จากเดิมที่ใช้เวลาฟักตัว 7 วัน ก็ลดเหลือเพียงแค่ 5 วัน เท่านั้น (2) จึงอาจกล่าวได้ว่าภาวะโรคร้อนส่งผลให้เกิดสภาพเหมาะสมกับการแพร่พันธุ์ของยุงลายได้ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้มีงานวิจัยของ อุรุญากร จันทร์แสงและคณะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรวจหาการเปลี่ยนแปลง (Mutation) ในระดับยีนส์ ที่ทาให้ยุงลายเกิดความต้านทานต่อสารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ ด้วยวิธีPCR-RFLP ซึ่งจากการศึกษาพบว่ายุงลายจากจังหวัดนนทบุรี มีอัตราการดื้อเป็น 27% ของยุงลายที่นามาตรวจทั้งหมด ในขณะที่ยุงลายจากจังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, จันทบุรี, ราชบุรี, กระบี่, สุราษฎร์ธานี, ตาก, สุโขทัย, กาแพงเพชร และนครสวรรค์มี อัตราการดื้อ 58.5, 59, 30, 60, 26, 36, 30, 16.7, 50 และ 73.3% ตามลาดับ รวมทั้งการ ตรวจด้วยวิธีนี้ยังพบกลุ่มของยุงลายที่สามารถให้กาเนิดยุงลายรุ่นต่อๆไปที่เป็นยุงลายดื้อยาได้ เนื่องจากได้ตรวจพบยีนส์ดื้อแฝงอยู่ใน
ยุงลายกลุ่มนั้น (3) ซึ่งทั่วประเทศเราก็ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์เป็นหลัก ถ้ามีการดื้อสารเคมีขยายวงกว้างมากขึ้น จะส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างแน่นอน
ปัจจัยด้านเชื้อเดงกี่ ไวรัส มีรายงานการศึกษาที่ค้นพบองค์ความรู้ที่สอดคล้องกัน คือการศึกษาของ ผศ.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ยุงลายสามารถถ่ายทอดเชื้อจากรุ่นสู่รุ่น ไม่เฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น ยุงลายตัวผู้ก็มีเชื้อไวรัสเดงกี่และสามารถถ่ายทอดผ่านการผสมพันธุ์ได้ด้วย การศึกษาของ ดร. อุษาวดี ถาวระ และคณะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (3) พบการติดเชื้อ Den-2, Den-3 and Den-4 ทั้งในยุงลาย Ae. aegypti และ Ae. Albopictus ทั้งตัวผู้และตัวเมีย และที่น่าสนใจคือ พบการติดเชื้อ 2 serotype คือ Den-2 and Den-3 ในลูกน้ายุงลาย Ae. Aegypti นอกจากนี้ยังพบว่า มีการติดเชื้อ 2 serotype (Den-2 and Den-3) ในยุงลายตัวผู้และตัวเมียตัวเดียว ทั้ง Ae. aegypti และ Ae. Albopictusซึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องรอให้มีผู้ป่วยหรือคนนาเชื้อเข้ามาในหมู่บ้านหรือชุมชนก็สามารถพบไข้เลือดออกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม นอกจากนี้เดงกี ไวรัส ทั้ง 4 ซีโรทัยป์ก็การกระจายไปทั่วเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งระดับโลกด้วย ดังภาพการกระจายเดงกี่ ซีโรทัยป์เขตสาธารณสุขที่ 14 ปี พ.ศ. 2551
ปัจจัยด้านคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง ในทางระบาดวิทยาเน้นที่คนที่มีภูมิไวรับ เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อคนได้รับเชื้อครั้งแรก เป็นซีโรทัยป์ใด ก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อชนิดนั้นตลอดชีวิต ขณะเดียวกันก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่ออีก 3 ชนิด แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน (4) ดังนั้นโอกาสที่จะป่วยเป็นไข้เลือดออกจึงพบในเด็กตั้งแต่ 1 – 10 ปี เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นระยะที่จะมีโอกาสติดเชื้อครั้งที่ 2 ที่ต่างซีโรทัยป์ได้มาก แต่ในปัจจุบันก็จะพบว่าในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 15 ปี ก็พบในสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักพบเป็น Dengue Fever ประมาณร้อยละ 53 แต่ในรายที่เป็นไข้เลือดออกมักพบอาการรุนแรงกว่าในเด็ก เนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ไม่นึกถึงโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ส่วนมากจะไปพบแพทย์ช้า จะไปเมื่อมีอาการมากแล้ว นอกจากนี้ผู้ใหญ่ยังมีโรคประจาตัวมากกว่าในเด็ก โรคที่สาคัญที่ทาให้โรค ไข้เลือดออกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นคือโรคกระเพาะ ส่วนโรคประจาตัวที่ทาให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ (5) โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า แม้ไม่ได้ออกจากหมู่บ้านไปไหนก็สามารถป่วยได้ เพราะเนื่องจากยุงมีการถ่ายทอดเชื้อได้เองส่วนหนึ่งตามที่มีงานวิจัยที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันการคมนาคมที่สะดวก อาชีพที่ต้องเดินทางเข้ามาทางานหรือเรียนหนังสือในเมืองก็เป็นปัจจัยสาคัญในการกระจายเชื้อได้รวดเร็วมาก
ที่กล่าวมายืดยาวนี้ก็เพื่อจะบอกว่า แนวโน้มของไข้เลือดออกในปี 2553 นี้ น่าจะระบาดมากและมีความรุนแรงด้วย ดังนั้นช่วง Golden Period ที่พูดถึงข้างต้นจึงเป็นช่วงสาคัญ เมื่อพิจารณาทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว แม้ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม แต่ก็ยังมีแนวทางที่เป็นไปได้ ดังนี้
1. ในช่วงนี้ ต้องให้ความสาคัญต่อระบบการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว ชัดเจน ไม่ละเลยในผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปด้วย
2. ระบบรายงานต้องจริงจัง กว่าฤดูกาลระบาด (ไม่ต้องรอฤดูฝน) รายงานเร็วทันทีที่พบผู้ป่วย วันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาก็ต้องให้ความสาคัญ
3. ทีม SRRT ทุกระดับต้องทบทวน เตรียมความพร้อมได้เลย ทั้ง คน รถ เครื่องพ่น สารเคมี มักพบเสมอว่าพบผู้ป่วย 1 รายในหน้าแล้ง ส่วนใหญ่จะให้ความสาคัญน้อย แต่ถ้าไม่เอาจริง ท่านจะเหนื่อยตลอดทั้งปี ต้องนึกเสมอว่าเวลาพบผู้ป่วย 1 ราย นั้นให้นึกถึงภูเขาน้าแข็ง โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใต้น้า ความหมายคือ ต้องลงให้ถึงชุมชน ถึงปัญหา อย่าเพียงแต่บอกให้ อสม. ไปพ่นสารเคมี แล้วแล้วถือว่าเสร็จสิ้น
4. เน้นคุณภาพการสอบสวน โดยเฉพาะการหาแหล่งโรคให้คลอบคลุม และกลุ่มเสี่ยงรวมทั้งปัจจัยเสี่ยง และจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5. การควบคุมโรคไม่เน้นการพ่นสารเคมีอย่างเดียว อย่าลืมเรื่องการสร้างความร่วมมือให้มีการกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้าอย่างต่อเนื่องสาคัญกว่า
6. การพ่นสารเคมีต้องคานึงถึงเทคนิคที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเตรียมชุมชน ถ้าพ่นหมอกควันพยายามปิดอบบ้านให้ได้มากที่สุด
7. ทางานเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะระดับตาบล หน่วยงานต่างๆ ต้องร่วมมือกับชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค
8. อย่าลืมการประชาสัมพันธ์ ใช้สื่อให้หลากหลาย โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่องและเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ยินบ่อยๆ ในระดับบุคคลและครอบครัว เน้นพฤติกรรม 4 ป. (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุงสภาพแวดล้อม) ระดับชุมชนเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือ
9. ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสาคัญ และติดตามผลอย่างจริงจัง
คลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น