การทำความสะอาดอย่างปลอดภัย
ในหลาย ๆ ครั้งของการทาความสะอาดนั้นก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ การเจ็บป่วยเนื่องจากได้รับเชื้อโรค หรือ สิ่งคุกคามต่อสุขภาพในขณะทางาน ดังนั้น จึงต้องป้องกันตนให้เหมาะสมก่อนเข้าไปร่วมในการทาความสะอาด หลายๆ ท่านละเลยหรือไม่ให้ความสาคัญต่อการป้องกันมากนัก บางครั้งอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ในความจริงแล้ว เราสามารถเตรียมพร้อมป้องกันตนเองได้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนั้นมีหลายประเภท เช่น ป้องกันเท้า ป้องกันมือ ป้องกันใบหน้า เป็นต้น ซึ่งในแต่ละประเภทยังมีให้เลือกอีกมากมายหลายชนิด ทั้งชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือชนิดใช้ได้หลายครั้ง บางชนิดป้องกันน้าได้ เป็นต้น การจะเลือกใช้ชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ท่านเข้าไปร่วมทางาน แต่จะขอยกตัวอย่างให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์แล้วกัน กลุ่มคนที่เข้าไปทาความสะอาด โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าไปขูดเอาตะกอนดิน โคลน หรือเอาเศษขยะ ออกไป หรือกลุ่มที่เข้าไปขัดถู หรือกวาดน้า (เน่า) ควรสวมอุปกรณ์
ป้องกันร่างกาย ได้แก่ รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง แว่นป้องกันตา และ หน้ากากป้องกันระบบหายใจ พลาสติกกันน้ากระเด็นหรือกันเปื้อน โดยอาจมีข้อคานึงในการเลือกใช้ดังนี้
1. รองเท้าบู๊ทยาง มีให้เลือกหลายชนิด ทั้งสั้นและยาว จะเลือกสีอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นพื้นยางเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว และถ้าให้ดีทดสอบดูด้วยว่า พื้นรองเท้าสามารถยึดเกาะได้ดี ไม่ลื่น หากไม่มีรองเท้าบู๊ทให้หาถุงพลาสติกหรือถุงดาที่ยาวหน่อยมาหุ้มเท้าไปจนถึงหน่อง หรือ ยาวตามที่ต้องการ จากนั้นสวมรองเท้าหุ้มอีกทีหนึ่งก็ได้ แต่ไม่ควรใส่รองเท้าแตะไปทาความสะอาดเพราะอาจถูกของมีคมบาด ทิ่มแทง หรือลื่นหกล้ม (ยกเว้น กลุ่มที่เข้าไปทางานในพื้นที่แห้ง หรือทางานนั่งเช็ดทาความสะอาด)
2.ถุงมือ ในการทาความสะอาดอาจต้องสัมผัสกับน้าสกปรก หรือใช้น้าผสมน้ายาฆ่าเชื้อโรค ให้ใช้ถุงมือยางชนิดถุงมือสีส้ม สีฟ้า สีขาว ที่ขายกันทั่วไป แต่หากต้องจับยกของที่ทาให้ถุงมือฉีกขาดได้ง่าย ก็ให้ใช้ถุงมือยางสีดาชนิดหนาซึ่งจะทนทานมากขึ้น แต่ถ้าหากต้องใช้น้ายาหรือสารเคมีเข้มข้นให้เลือกใช้ถุงมือไนไตร (สีเขียว) แต่ถ้าหากต้องขนเศษไม้ เศษโลหะ ของหนัก หรือมีคม ควรใส่ถุงมือป้องกันบาดจะดีกว่า แต่ราคาแพงหน่อย คู่ละประมาณ 300-400 บาท
3.หน้ากาก กรณีที่ฝุ่นน้อยให้เลือกใช้ผ้าปิดจมูกที่มีขายอยู่ทั่วไปก็ได้ แต่ถ้าเห็นมีฝุ่นฟุ้งกระจายมาก หรือคาดว่ามีเชื้อรา หรือเชื้อโรค หรือกลุ่มจิตอาสามืออาชีพที่ไปช่วยตามสถานที่ต่างๆบ่อยๆแนะนาว่าให้ใช้รุ่นที่เขาเรียกว่า N 95 จะป้องกันฝุ่นละอองได้ดีกว่า
สิ่งที่ต้องระวังคือ เวลาใส่ต้องมั่นใจว่า ปิดทั้งจมูกและปากโดยให้ปรับลวดและสายรัดให้กระชับกับใบหน้าจะได้ป้องกันได้ดี
4.พลาสติกกันน้ากระเด็น เหมือนผ้ากันเปื้อนที่ใช้ในครัว แต่ควรทาด้วยพลาสติกเพื่อกันน้าได้
หรืออาจประยุกต์นาพลาสติกเป็นผืน เช่น ถุงดาขนาดใหญ่ หรือ พลาสติกปูโต๊ะ ตัดเป็นทรงคล้ายผ้ากันเปื้อน แล้วทาหูโดยใช้เชือกพลากติกมัดเป็นเชือกผูกช่วงคอและเอวได้ ความยาวควรคลุมลงมาให้เลยหัวเข่า ผู้ที่ไปทาความสะอาดไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น แต่ควรใส่กางเกงขายาวเพราะจะปกป้องผิวหนังจากสิ่งสกปรกและป้องกันการถูกขีดข่วนจากเศษวัสดุต่างๆ ได้ดี
5.แว่นตา คนที่เข้าไปขูด แซะ หรือโกยเศษขี้ดิน โคลน รวมทั้งกลุ่มที่ไล่ฉีดน้า และกวาดน้า ควรใช้แว่นตาที่ป้องกันวัสดุกระเด็นเข้าตา และหากเกิดอุบัติเหตุวัสดุกระเด็นเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้าสะอาดไหลผ่านทันที ห้ามขยี้ตา
อุปกรณ์ป้้องกันอันตรายส่วนบุคคล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ยกเว้นบางประเภท แต่ต้องล้างทาความสะอาดก่อนและหลังการใช้งาน แต่บางประเภทก็อย่าดีกว่า ไม่ควรใช้ปะปนกัน โดยเฉพาะท่านที่มีจิตอาสาแนะนาว่า ซื้อไว้เป็นของส่วนบุคคล ไปช่วยเขาที่ไหนก็เอาไปด้วย ใช้ของเราเอง ไปช่วยเสร็จก็ล้างทาความสะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วใส่ไปช่วยที่ใหม่จะดีกว่า
นอกจากนี้มีคาถาทางานอย่างความปลอดภัย กล่าวคือ
ต้องตั้งสติให้ดีทางานอย่างระมัดระวัง
มองรอบตัวว่า มีเครื่องมือ เครื่องกลอะไรบ้างที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
เวลาทางานอย่าหยอกล้อเล่นกันมากนักเพราะอาจเกิดการลื่นหกล้มได้
ทั้งนี้ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนดื่มน้าหรือทานข้าว ระวังอย่าเผลอหยิบของทานเล่นเข้าปากโดยไม่ทาความสะอาด
ท้ายสุดอย่าลืม ชุดที่ท่านใส่ไปทาความสะอาด เมื่อกลับบ้านให้แยกซักต่างหากจะดีกว่า หากเลอะเทอะหรือเปื้อนมากเมื่อซักสะอาดแล้วก็ใช้น้าร้อนซักน้าสุดท้ายแล้วตากแดดแรงๆ หรือไม่ก็ทิ้งไปพิจารณาตามความสกปรกแล้วกัน
เรียนวิชาอนามัยสิ่งแวดจากเหตุการณ์น้ำท่วม
ป้ายกำกับ:
อนามัยสิ่งแวดล้อม
View Posts Recommended By Other Readers :
อนามัยสิ่งแวดล้อมคลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น