พระมหาพุทธพิมพ์ หรือ "หลวงพ่อโต" แห่งวัดไชโยนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก พระมหาพุทธพิมพ์ ประดิษฐานในวิหารวัดไชโยวรวิหาร ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทองมีพุทธลักษณะ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก ๘ วา ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม
สมเด็จพระพุฒาจารย์หรือที่เรียกกันติดปากว่าสมเด็จโตนั้น สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่านมาก่อนนี้แล้วสององค์ คือ พระนอนที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืนที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหมเมื่อมาสร้างหลวงพ่อโตที่วัดไชโยนี้ แรกทีเดียวท่านสร้างเป็นพระนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดินแต่ไม่นานก็ทลายลง ท่านจึงสร้างขึ้นอีกครั้ง ครั้งนี้ ใช้วิธีเดิมแต่ลดขนาดให้เล็กลงก็สำเร็จเป็นพระปางสมาธิองค์ใหญ่ถือปูนขาว ไม่ปิดทอง
ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วยเมื่อพิจารณาแล้วทรงให้รื้อองค์พระ ออกทั้งองค์แล้ววางรากฐานใหม่ ใช้วิธีวางโครงเหล็กยึดไว้ภายในแล้วก่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิซ้อนพระหัตถ์ ตามลักษณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ทำไว้เดิม เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งคือ หลวงพ่อโต วัดไชโยองค์ที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต เป็นที่ประจักษ์กันดีในหมู่ชาวเมืองอ่างทองที่เคารพนับถือ กล่าวกันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับ
ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อวันที่ ๕–๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร ๑ โรง หนัง ๑ โรง ดอกไม้เพลิง ๑ ต้น กัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากรวัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓ ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง รหัสไปรษณีย์ ๑๔๑๔๐
ประวัติพระมหาพุทธพิมพ์
ป้ายกำกับ:
พระมหาพุทธพิมพ์
View Posts Recommended By Other Readers :
พระมหาพุทธพิมพ์คลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น