มูลฝอยติดเชื้อคืออะไร แตกต่างจากมูลฝอยทั่วไปยังไง แล้ววิธีกำจัดมันต้องทำอย่างไรบ้าง ยังไงถึงจะเรียกว่าติดเชื้อ ? ล้วนเป็นคำถามที่ผมเฝ้าถามตัวเองเมื่อได้รับบทบาทในการเป็นเลขานุการทีมบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงพยาบาล และเมื่อผมถามตัวเองแล้วไม่ได้คำตอบ ผมจึงต้องถาม ถาม ถาม เพื่อนๆพี่ๆน้องเหล่าสาธารณสุขและเก็บเล็กผสมน้อยเรื่อยๆๆมา จนมาได้คำตอบคำตอบหนึ่งว่าให้ไปค้นจาก GOOGLE ซิ ...
ผมเริ่มจากการค้นหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข ได้ความว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ได้แก่
1.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข 2535
2.กฎกระทรวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545
3.มาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ตามเกณฑ์กรมอนามัย
จากการอ่านทบทวนและตั้งใจอย่างยิ่งยวดผมสรุปได้ว่า มูลฝอยติดเชื้อคือ มูลฝอยหรือขยะหรืออะไรก็ช่าง(มีคมหรือไม่มีคมไม่สนใจ)ที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งของคนหรือสัตว์ล้วนให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อทั้งสิ้น
โดยกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อนั้น แบ่งเป็นหัวข้อหลักๆๆที่ต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดและรอบคอบ (ควรอ่านอย่างตั้งใจ 7 - 10 รอบ)ดังนี้
1.บุคลากร ผู้รับผิดชอบควบคุมต้องจบ วท.บ.หรือวิศวกรรมศาตร์
2.การคัดแยกมูลฝอย ต้องแยกมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยอื่นๆ ณ แหล่งกำเนิด และต้องแยกระหว่างของมีคม กับของไม่มีคมออกจากกันด้วย
3.การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ภาชนะรองรับสำหรับของมีคมต้องเป็นกล่องที่แข็งแรงเข็มไม่แทงทะลุ หากเป็นของไม่มีคม ต้องใช้ถุงแดงและมีข้อความหรือสัญญาลักษณ์เตือนให้คนอื่นทราบด้วยว่าผมอันตราย
4.การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ ผู้เคลื่อนย้ายต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน รถขนย้ายต้องใช้ขนย้ายเฉพาะมูลฝอยติดเชื้อ มีกำหนดเวลาและเส้นทางชัดเจน
5.ลักษณะของรถเข็นที่เคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ มีพื้นและผนัง ทึบ ทำความสะอาดได้ง่าย มีข้อความสีแดงที่รถว่า "รถเข็น มูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น"
6.สถานที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ เป็นห้องหรืออาคารเฉพาะ แยกจากอาคารอื่นและอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยไปกำจัด และมีข้อความเป็นคำเตือน ขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ”
7.การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ถ้าให้ผู้อื่นกำจัดให้ต้องมีหนังสือ/เอกสาร แสดงชื่อหน่วยงานที่รับมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด ที่เชื่อได้ว่ามีการนำมูลฝอย ติดเชื้อไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ทำไมมันถึงยุ่งยากอย่างนี้เหรอครับ เพราะเขาต้องการลดโอกาศในการแพร่กระจายเชื้อโรคครับ
คลังบทความของบล็อก
- พฤษภาคม (1)
- มีนาคม (3)
- มกราคม (1)
- มิถุนายน (1)
- เมษายน (2)
- พฤศจิกายน (1)
- สิงหาคม (2)
- พฤษภาคม (1)
- เมษายน (1)
- พฤศจิกายน (2)
- มีนาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (1)
- พฤษภาคม (2)
- เมษายน (4)
- มีนาคม (7)
- กุมภาพันธ์ (3)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (3)
- พฤศจิกายน (9)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (9)
- สิงหาคม (32)
- กรกฎาคม (42)
- มิถุนายน (41)
- พฤษภาคม (3)
- เมษายน (5)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (13)
- มกราคม (8)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (10)
- ตุลาคม (4)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (10)
Popular Posts
-
"เสื้อหมออนามัย" ใส่ได้เฉพาะ หมออนามัย หรือเปล่าครับ? เป็นคำถามที่เด็กอายุราว 4 ปีได้เอยถามผม พอผมได้ยินคำถามนี้ผมก็ถามตอบท...
-
เนื่องด้วยบุญพา บารมีเสริม ทำให้ผมได้มีโอกาศไปนั่งรับฟังนโยบายการดำเนินงานงานปฐมภูมิ ถึงแม้ว่าผมไม่ได้รับฟังจากปากท่านผู้ตรวจราชการ ท...
-
เมื่อช่วงวันหยุดทีี่่ผ่านเมื่อกี้ผมได้ไปประชุม อบรม เรื่องของ PCA ที่จังหวัดสุรินทร์ ไปประชุม(จริงๆคือไปอบรม) และพักที่ รีสอร์ท แน่นอนครั...
-
นับเวลาหลายปีแล้วที่เจ้าหน้าที่สาสุขต่างพยายามศึกษาต่อเพื่อให้ได้คำว่า ปริญญา......ในก่อนหน้านี้ก็ไปเรียนราชภัฎ เอกสุขศึกษา หรือลาเรียนต...
-
"ขอเล่าเรื่องของผมครั้งสมัยก่อนที่ผมจะสอบได้บรรจุในตำแหน่งนักวิชาการสักนิดนึงนะครับ อาจเรีกได้ว่าเป็นการแชร์เคล็ดลับในการเตรียมตัวสอบก้...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น