ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ยาคุมกำเนิด

ความหมายของยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิด หมายถึงยาที่กินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนที่ได้จากการสังเคราะห์มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนโปรเจสโตโรนตามธรรมชาติ  

ยาคุมกำเนิดแบบธรรมดาแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
 1. ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraception)     
ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม หมายถึง ยาคุมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่ากัน แบ่งได้สองกลุ่ม
1.1 Monophasic or Fixed dose pill เป็นกลุ่มยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนรวม คือเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่ากัน แยกได้ 3 ประเภท
1.1.1 ระดับปริมาณฮอร์โมนรวมสูง (High dose)ใช้กับคนไข้ที่รักษาอาการทางนรีเวชเท่านั้น
1.1.2 ระดับปริมาณฮอร์โมนรวมต่ำ (Low dose) มีเอสโตรเจนน้อยกว่า 50 ไมโครกรัม และ
ปริมาณโปรเจสโตเจนก็น้อยกว่าแบบแรก คือมีเอสโตรเจนเพียง 30 หรือ 35 ไมโครกรัมเท่านั้น ยาคุมกลุ่มนี้ใช้กันมากที่สุด
1.1.3 ระดับปริมาณฮอร์โมนรวมต่ำมาก (Ultralow dose) มีเอสโตรเจน 20 ไมโครกรัม ข้อดี
จะมีอาการข้างเคียงจากเอสโตรเจนน้อย แต่ข้อเสียอาจทำให้มีเลือดออกกระปริบกระปรอย รอบเดือนขาดหายไป อีกทั้งยังต้องกินสม่ำเสมอ ห้ามขาดเพราะระดับยาจะลดลงจนไม่สามารถยับยั้นการตกไข่ได้
1.2 Multiphasic pills เป็นกลุ่มยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนไม่เท่ากันในเม็ดยาคุมกำเนิดในแผงยา เรียกว่า triphasic หรือ three steps pills ทำให้ยาคุมประเภทนี้ต้องกินเรียงตามลำดับ
2. ยาคุมกำเนิดที่มีแต่โปรเจสโตเจน 
ยาคุมกำเนิดในกลุ่มนี้จะไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และมีแต่โปรเจสโตเจนในระดับปริมาณน้อย เรียกว่า microdose หนึ่งแผงจะมี 35 เม็ด ข้อดีจะไม่มีผลของอาการข้างเคียงของเอสโตรเจน หรือต่อคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด ข้อเสียมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดต่ำ เพราะการระงับไข่ตกไม่แน่นอน

การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน
หมายถึง วิธีการคุมกำเนิดที่ใช้ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ทันที ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดเท่านั้น เช่น ไม่ได้คุมกำเนิด ถุงยางแตกหรือรั่ว หรือถูกข่มขืน เป็นต้น ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาที่มีโปรเจสโตเจนในปริมาณสูงปริมาณ 0.75 มิลลิกรัม ซึ่งยาคุมประเภทนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นยาคุมกำเนิดแบบปกติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จะใช้ในกรณีที่ผิดพลาดเท่านั้น เพราะหากมีเพศสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ และใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากขึ้นหากเทียบกับวิธีคุมกำเนิดแบบธรรมดา ยาคุมฉุกเฉินแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. ยาคุมฉุกเฉินฮอร์โมนผสม ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสตินผสมกัน (Combined Pill Regimens)
2. ยาคุมฉุกเฉินฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว (Progestin-Only Pill Regimens)
วิธีการกินยาคุมกำเนิด
การเลือกกินยาคุมกำเนิดมีดังนี้
1. การเลือกกินยาคุมกำเนิดตามภาวะของฮอร์โมนในร่างกาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนร่างกายของผู้หญิงแต่ละคนนั้นมีระดับที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้สามประเภท  
1.1. ประเภท estrogenic (ควรเลือกกินยาคุมที่มี progestogen มาก)
- มีรอบเดือนออกมาก และออกนานกว่า 6 วัน
- ระยะรอบเดือนสั้น มักจะน้อยกว่า26วันต่อครั้ง(มาเร็ว)
- รูปร่างท้วมหรืออ้วน
- ไม่ค่อยมีขนตามตัว
1.2 ประเภทปกติ
- มีรอบเดือนสม่ำเสมอ ปริมาณเลือดไม่มากไม่น้อย 4-6 วัน
- น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1.3 ประเภท progestonic (ควรเลือกยาคุมที่มี estrogen มาก)
- รอบเดือนมีเลือดน้อยไม่ค่อยเปลืองผ้าอนามัย มาน้อยกว่า 4 วัน
- ระยะรอบเดือนยาว บางคนกว่า30วันจึงจะมา(เลื่อนออกไปบ่อยๆ)
- รูปร่างออกไปทางผู้ชาย
- เต้าเล็ก
- มีขนตามตัว
- เป็นสิวบ่อยๆ
                2. ผู้หญิงที่มีลูกแล้ว แบ่งออกได้ 2 กรณี
2.1 หากมีอาการแพ้ท้องมากในขณะที่มีลูก เช่นคลื่นไส้ อาเจียน หรือบวม แสดงว่าร่างกาย
ตอบสนองต่อเอสโตรเจนมาก ควรเลือกกินยาคุมที่มีเอสโตรเจนน้อย
2.2 เมื่อมีท้องแล้วอ้วนมาก และมีสิวมาก แสดงว่าร่างกายตอบสนองต่อโปรเจสโตเจน และ
แอนโดรเจนมาก ควรเลือกกินยาคุมที่มีโปรเจสโตเจนน้อย
                3. ผู้หญิงที่มีอายุน้อย หรือค่อนข้างมาก เช่น อายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่แนะนำให้กินยาคุมเพราะอาจทำให้ตัวเตี้ยได้ หรืออายุมากกว่า 40 ปี ก็ไม่แนะนำให้กินยาคุมกำเนิด เพราะจะมีผลต่อโรคหัวใจ และระบบหลอด ควรเลือกฉีดยาคุมกำเนิด แต่หากต้องการกินยาคุมให้เลือกยาคุมที่ไม่มีเอสโตรเจนหรือมีเอสโตรเจนน้อย
4. แม่ลูกอ่อน หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรเลือกแบบไม่มีเอสโตรเจน หรือถ้ามีเอสโตรเจนก็ไม่ควรเกิน 20 ไมโครกรัม เพราะเอสโตรเจนที่มีปริมาณสูงอาจมีผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง และอาจทำให้เด็กตาเหลืองจากการกินนมแม่ การกินยาคุมสามารถเริ่มได้หลังคลอด 6 สัปดาห์ แต่เมื่อหยุดให้นมสามารถกินแบบปกติได้

ย่อวิชาผดุงครรภ์

  แน่นอนนักวิชาการสาธารณสุขไม่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเหมือนพยาบาล ไม่ต้องสอบวิชาผดุงครรภ์  เหมือนกับพยาบาล แล้วทำไมผมถึงเขียนเรื่องย่อวิชาผดุงครรภ์ ก็เพราะว่าเมื่อก่อนคือ 6 ปีที่แล้ว พยาบาลที่จบใหม่ๆจะมาให้ผมเช็คผลการสอบใบประกอบวิชาชีพเสมอๆและวิชาที่สอบกันไม่ค่อยผ่านคือวิชาผดุงครรภ์และวิชากฎหมายครับ

     การผดุงครรภ์ คือ การดูแลมารดาและทารกตั้งแต่ผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด เพื่อแนะนำ แก้ไข ป้องกันอาการต่างๆ ของผู้เริ่มตั้งครรภ์ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงในร่างกายเกิดขึ้น
    ผดุงครรภ์ มีหน้าที่สำคัญในการดูแลรักษาผู้ตั้งครรภ์ ตั้งแต่แรกเริ่มจนทารกคลอด และมีหน้าที่ชี้แจงแนะนำในสิ่งต่างๆ ให้ผู้จะเป็นมารดาเข้าใจและดำเนินชีวิตคู่อย่างถูกต้อง ตามธรรมชาติ เพื่อที่จะได้มี บุตร-ธิดา ที่มีคุณภาพ
   นอกจากนิยามและความหมายของการผดุงครรภ์แล้ว  สิ่งที่ต้องท่องให้ขึ้นใจสำหรับผู้ที่จะสอบวิชาผดุงครรภ์คือ สรีระร่างกายของหญิงและชายวัยเจริญพันธุ์
สรีระร่างกายของหญิงและชายวัยเจริญพันธุ์
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชายประกอบด้วย
1.ต่อมอัณฑะ
2.ท่อน้ำอสุจิ
3.องคชาติ
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์หญิงประกอบด้วย
1.มดลูก
2.รังไข่
3.ช่องคลอด
เพศชาย
ต่อมอัณฑะ มีหน้าที่ผลิตน้ำอสุจิและกลั่นตัวอสุจิ เป็นโรงงานที่ไม่มีเวลาพักผ่อน แล้วส่งน้ำอสุจิไปตามสองสาย (สายสองสลึง) ไปพักอยู่ในถุงน้ำกาม ซึ่งคิดอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะทั้งสองข้าง)

            น้ำอสุจิ ประกอบด้วยตัวสเปิร์มมาโตซัว ลักษณะเป็นเมือกขาวข้น ออกมาครั้งหนึ่งประมาณ 3-4 ช้อนกาแฟ เด็กชายอายุ 16 ปีบริบูรร์ จึงจะมีตัวสเปอร์มาโตซัวจนถึงถึง 70-80 ปี ซึ่งทำให้เกิดบุตรได้ (แต่ไม่แน่นอนแล้วแต่กำลังคน)
เพสหญิง
            มดลูก เป็นกล้ามเนื้อสามชั้นหนาเหนียวแข็งแรงมาก ไขว้กันตามยาวหนึ่งชั้น ไขว้กันตามขวางหนึ่งชั้น ไขว้เฉลียงหนึ่งชั้น
            ภายในตัวมดลูก เป็นโพลงรูปห้องสามเหลี่ยมแบนๆมีช่องหนึ่งไปทางช่องคลอด อีกสองช่องอยู่ก้นมดลูก ออกไปทางซ้ายและขวา เรียกว่าปีกมดลุกซ้ายขวา
            ปีกมดลูก เป็นหลอดทางเดินของไข่สุกเข้าไปโพลงมดลูก ปากหลอดเหมือนปากแตร มดลูกทรงตัวลอยด้วยเอ็นทั้งสองข้าง ถ้าเอ็นขาดทำให้มดลูกออกมาจุกที่ปากช่องคลอด หรือออกมานอกช่องคลอด(กระบังลมหรือดากออก)
            ช่องคลอด  ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ตั้งแต่ปากมดลูกถึงปากช่องคลอด
            ปากช่องคลอด  มีแอ่งสำรับน้ำอสุจิ มีน้ำเมือกสภาพครึ่งกรดครึ่งด่าง
            ปากมดลูกอักเสบมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป จะทำให้อสุจิที่มากับน้ำอสุจิกำลังหรือตาย (ทำให้ผู้หญิงเป็นหมัน)
            ถ้ามีสภาพเป็นด่าง จะเป็นการส่งเสริมการวิ่งของอสุจิ
            ตัวอสุจิ  มีตัวคล้ายลูกอ๊อด คือ หัวกลมเล็ก  ตัวแบนมีหางกระดิก ไข่ที่ตกจากรังไข่จะเคลื่อนเข้าทางปากแตรประมาณ 6-7 วัน จึงจะเดินถึงโพรงมดลูก

การให้การดูแลแก่หญิงตั้งครรภ์
            1.การซักประวัติ
                        1.1 อายุ ชีพ ระยะเวลาการแต่งงาน
                        1.2 ประวัติทั่วไป ประวัติครอบครัว การเจ็บป่วย การคลอด การมีระดู อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ การนัดตรวจครรภ์  การตรวจครรภ์ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ
           
2. การให้คำแนะนำผู้ตั้งครรภ์
            แนะนำเรื่องอาหาร เครื่องนุ่งห่ม การปฏิบัติต่อร่างกาย เรื่องการทำงาน การมีเพศสัมพันธ์
การแท้ง (ครรภ์วิปลาส)
            สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง
1.      ต้นเหตุเกี่ยวกับไข่ เกิดจากการตายของไข่ที่ฝังตัวลงในพื้นเยื่อมดลูก ต้นเหตุที่ทำให้ไข่ตาย มี ครรภ์ไข่ปลาอุก โรคของรก โรคของสายสะดือ โรคของเยื่อถุงน้ำหุ้มเด็ก โรคขอตัวเด็กเอง
2.      ต้นเหตุที่เกี่ยวกับมารดา
                               2.1 เกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องเชิงกราน ได้แก่ เยื่อบุพื้นมดลูกอักเสบ มดลูกมีรูปร่างผิดไปจากปกติ มดลูกมีขนาดเล็ก ยอดมดลุกพลิกกับตัวอยู่ด้านหลัง ปากมดลูกฉีกขาด เนื้องอกไปรบกวนมดลูก
                               2.2 เกี่ยวกับการผิดปกติ ที่เกิดแก่มารดาแล้วเป็นผลที่ทำให้เด็กตายบ่อย ได้แก่ โรคที่ทำให้มารดามีไข้สูง ยาสลบ การกระทบกระเทือนจากภายนอก มีความเครียดและความวิตกกังวล เกี่ยวกับต่อมภายในผิดปกติ
                              2.3 ต้นเหตุเกี่ยวกับพ่อ ได้แก่ ตัวสเปิร์มอ่อนแอ
ชนิดของการแท้ง
            การทำแท้ง คือ การที่มดลูกแยกจากกันและมีโลหิตออกมาทางช่อคลอดในระยะที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์
           
การแท้งแยกออกได้ 3 ระยะ คือ
ระแยะแรก คือ แท้งในระยะสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์
ระยะที่สองคือ แท้งในระยะตั้งครรภ์ได้ 3-4 เดือน
ระยะที่สาม คือ แท้งในระยะตั้งครรภ์ได้ 5-7 เดือน
การดูแลรักษาหญิงที่มีการแท้ง
            ให้นอนพักนิ่งๆ1สัปดาห์ ให้อาหารแต่พอควร งดเหล้า ห้ามใช้ยาถ่าย
ทารกตายในครรภ์มีอาการ ดังนี้ มีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรงด้านใดด้านหนึ่งของมดลูก หน้าท้องตึงละมีเลือดออกทางช่อคลอด ฟังเสียงหัวใจของทารกไม่ได้ยิน และทารกไม่ดิ้น ให้นำส่งโรงพยาบาล แต่ถ้าทารกนั้นแท้งรกไม่หลุดตัวมดลูกกำลังหดตัว หรือเนื่องจากทารกไม่แก่พอที่จะหลุดออกมาจากมดลูก เป็นเหตุให้สตรีที่แท้งลุกมีรกติดโดยมาก และยังเกิดจากปากมดลุกยังเปิดไม่พอ ให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ให้อาหารแต่ควร
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
            ในระยะ 1 เดือนแรก  เมื่อน้ำอสุจอผสมกับไข่ได้ 2 สัปดาห์แล้ว ทารกจะเกิดเป็นกระดูก เริ่มต้นมีชีวิต เกิดเนื้อสมองและเนื้อประสาท สัปดาห์ที่3เหมือนตัวด้วง ครบหนึ่งเดือนจะเกิดทรวงอกและช่องท้อง ลอดหัวใจเริ่มเต้นระริกสัปดาห์ที่5 จะยาวประมาณ 1 นิ้ว เท่าไข่นกพิราบ
            เดือนที่ 2  ปากจมูกหูตา มือเท้างอกขึ้นเป็นจุดดำๆ
            เดือนที่ 3 เริ่มเกิดเป็นนิ้วมือนิ้วเท้า
            เดือนที่ 4 อวัยวะเกิดเกือบพร้อมกันหมด แต่ตาไม่มี ทารกเริ่มดิ้น
            เดือนที่ 5  ได้ยินเสียงหัวใจเต้นถนัดอวัยวะมีครบบริบูรณ์ ลืมตาและหลับตาได้
เดือนที่ 6 สายสะดือยาว 12 นิ้ว เท่าตัวทารก หากคลอดในระยะนี้ บางทีเลี้ยงรอดแต่ต้องใช้ความร้อนเลี้ยงร่างกายให้อุ่น บางทีคลอดได้พียง 12 วัน ก็ตาย เนื่องจากในกระเพาะอาหารของทารกยังไม่มีกรดแลคติคที่ทำหน้าที่ย่อย
            เดือนที่ 7  หากคลอดในระยะนี้เลี้ยงรอดแต่ห้ามอาบน้ำเย็น
            เดือนที่ 8 ทารกมีอวัยวะครบทุกอย่าง สายสะดือยาว 16 นิ้ว เท่ากับทารก
            เดือนที่ 9 สายสะดือและตัวยาวเท่ากัน 17 นิ้ว
กิริยาทารกในครรภ์
            ทารกจะงอตัวอยู่ในมดลูกและลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำ สายสะดือติดต่อเป็นขั้วอยู่กับรก
ครรภ์ผิดปกติ หรือ การตั้งครรภ์ผิดปกติ
            การตั้งครรภ์ผิดธรรมดานั้นคือรกเกาะติดอยู่ที่ปากมดลูก เวลาคลอดรกจะออกมา สตรีผู้คลอดมักตาย ต้องรีบผ่าท้องคลอดรกออกมา และช่วยให้ทารกคลอดได้โดยเร็ว ระงับโลหิตแล้วส่งแพทย์ด่วน
            อีกอย่างหนึ่ง ไข่สุกที่ผสมแล้วไปติดอยู่ที่หลอดปากแตร มักเป็นแก่หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว อยู่มาในไม่ช้า ถุงหุ้มตัวเด็กจะแตกออก มักทำให้สตรีนั้นเป็นอันตราย
โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
            1.อาเจียนอย่างรุนแรง
            2.โรคพาแห่งครรภ์
            3.โรคหัวใจ
            4.ท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ
การทำคลอดปกติ
อาการที่แสดงการทำคลอดบุตร
            เต้านมจะแข็งคัด ปากช่องคลอดบวม ท้องลดต่ำลง ท้องกลมแข็ง มีอาการเป็นเหน็บชาที่เท้า เกิดอาการบวมขา เลือดลมคั่ง ถ้ามดลูกเปิดถึง3นิ้ว ก็เกือบถึงกำหนดคลอด ถุงน้ำคร่ำก็จะแตก
การตรวจปากมดลุก
            ปากมดลูกเปิดเท่าเหรียญสลึง ต้องรออีกสองชั่วโมงแล้วทำการตรวจใหม่ ถ้าเปิดเท่าเหรียญบาท ต้องตรวจทุกๆชั่วโมง ถ้าเปิดกว้าง 3 นิ้ว แสดงว่าจะคลอดในชั่วโมงนี้ ถ้าเป็นท้องสาวต้องรอไปอีก 2 ชั่วโมง เมื่อปากมดลูกเปิดกว้างกว่า 3 นิ้ว น้ำทูนหัวจะไหลออกหมด มดลูกจะบีบรัดตัวทารกทำให้เป็นการช่วยเร่งทารกคลอดออกเร็ว


แพทย์มหาวิทยาลัยพะเยา

ด้วยมหาวิทยาลัยพะเยา จะดำเนินการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพะเยาระดับ ปริญญาตรี โครงการรับนิสิตแพทยศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2555 ให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียน 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่านแม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี

คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
1) มีสัญชาติไทย และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
2) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญในโครงการจัดการศึกษาปกติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นเรียนปีการศึกษาสุดท้ายของโรงเรียนพระ ปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
3) ต้องเป็นผู้ปราศจากโรคเหล่านี้ คือ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการน่ารังเกียจ โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงและโรคพิษสุราเรื้อรัง
4) ไม่เป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต (Psychosis) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurosis)หรือ โรคบุคลิกภาพแปรปรวน โดยเฉพาะ Antisocial Personality หรือ Borderline Personality รวมถึงปัญหาจิตเวชอื่น ๆอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5) ไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรงโรคความดันโลหิตสูงรุนแรง โรคภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ
6) ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
7) ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องมีผลการสอบ O-NET ในวันรายงานตัวขึ้นทะเบียนนิสิต

จำนวนรับ
มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดรับสมัครในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา
2555 จำนวนทั้งสิ้น 15 คน ดังนี้
1) โรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยาแพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน จำนวน 8 คน
2) โรงเรียนในเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่น่าน แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี จำนวน 7 คน
การรับสมัครเข้าศึกษา
สมัครด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ www.admission.up.ac.th ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม – 3 ตุลาคม 2554โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลใบสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน และสั่งพิมพ์เอกสารใบสมัครพร้อมทั้งติดรูปผู้สมัครตามที่กำหนดไว้และพิมพ์ใบ ชำระเงินพร้อมชำระเงินค่าสมัคร 1,000 บาท ตามธนาคารที่กำหนด

เรียนวิชาอนามัยสิ่งแวดจากเหตุการณ์น้ำท่วม

การทำความสะอาดอย่างปลอดภัย
ในหลาย ๆ ครั้งของการทาความสะอาดนั้นก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ การเจ็บป่วยเนื่องจากได้รับเชื้อโรค หรือ สิ่งคุกคามต่อสุขภาพในขณะทางาน ดังนั้น จึงต้องป้องกันตนให้เหมาะสมก่อนเข้าไปร่วมในการทาความสะอาด หลายๆ ท่านละเลยหรือไม่ให้ความสาคัญต่อการป้องกันมากนัก บางครั้งอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย แต่ในความจริงแล้ว เราสามารถเตรียมพร้อมป้องกันตนเองได้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลนั้นมีหลายประเภท เช่น ป้องกันเท้า ป้องกันมือ ป้องกันใบหน้า เป็นต้น ซึ่งในแต่ละประเภทยังมีให้เลือกอีกมากมายหลายชนิด ทั้งชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือชนิดใช้ได้หลายครั้ง บางชนิดป้องกันน้าได้ เป็นต้น การจะเลือกใช้ชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ท่านเข้าไปร่วมทางาน แต่จะขอยกตัวอย่างให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์แล้วกัน กลุ่มคนที่เข้าไปทาความสะอาด โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าไปขูดเอาตะกอนดิน โคลน หรือเอาเศษขยะ ออกไป หรือกลุ่มที่เข้าไปขัดถู หรือกวาดน้า (เน่า) ควรสวมอุปกรณ์

ป้องกันร่างกาย ได้แก่ รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง แว่นป้องกันตา และ หน้ากากป้องกันระบบหายใจ พลาสติกกันน้ากระเด็นหรือกันเปื้อน โดยอาจมีข้อคานึงในการเลือกใช้ดังนี้
1. รองเท้าบู๊ทยาง มีให้เลือกหลายชนิด ทั้งสั้นและยาว จะเลือกสีอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นพื้นยางเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว และถ้าให้ดีทดสอบดูด้วยว่า พื้นรองเท้าสามารถยึดเกาะได้ดี ไม่ลื่น หากไม่มีรองเท้าบู๊ทให้หาถุงพลาสติกหรือถุงดาที่ยาวหน่อยมาหุ้มเท้าไปจนถึงหน่อง หรือ ยาวตามที่ต้องการ จากนั้นสวมรองเท้าหุ้มอีกทีหนึ่งก็ได้ แต่ไม่ควรใส่รองเท้าแตะไปทาความสะอาดเพราะอาจถูกของมีคมบาด ทิ่มแทง หรือลื่นหกล้ม (ยกเว้น กลุ่มที่เข้าไปทางานในพื้นที่แห้ง หรือทางานนั่งเช็ดทาความสะอาด)

2.ถุงมือ ในการทาความสะอาดอาจต้องสัมผัสกับน้าสกปรก หรือใช้น้าผสมน้ายาฆ่าเชื้อโรค ให้ใช้ถุงมือยางชนิดถุงมือสีส้ม สีฟ้า สีขาว ที่ขายกันทั่วไป แต่หากต้องจับยกของที่ทาให้ถุงมือฉีกขาดได้ง่าย ก็ให้ใช้ถุงมือยางสีดาชนิดหนาซึ่งจะทนทานมากขึ้น แต่ถ้าหากต้องใช้น้ายาหรือสารเคมีเข้มข้นให้เลือกใช้ถุงมือไนไตร (สีเขียว) แต่ถ้าหากต้องขนเศษไม้ เศษโลหะ ของหนัก หรือมีคม ควรใส่ถุงมือป้องกันบาดจะดีกว่า แต่ราคาแพงหน่อย คู่ละประมาณ 300-400 บาท

3.หน้ากาก กรณีที่ฝุ่นน้อยให้เลือกใช้ผ้าปิดจมูกที่มีขายอยู่ทั่วไปก็ได้ แต่ถ้าเห็นมีฝุ่นฟุ้งกระจายมาก หรือคาดว่ามีเชื้อรา หรือเชื้อโรค หรือกลุ่มจิตอาสามืออาชีพที่ไปช่วยตามสถานที่ต่างๆบ่อยๆแนะนาว่าให้ใช้รุ่นที่เขาเรียกว่า N 95 จะป้องกันฝุ่นละอองได้ดีกว่า

สิ่งที่ต้องระวังคือ เวลาใส่ต้องมั่นใจว่า ปิดทั้งจมูกและปากโดยให้ปรับลวดและสายรัดให้กระชับกับใบหน้าจะได้ป้องกันได้ดี

4.พลาสติกกันน้ากระเด็น เหมือนผ้ากันเปื้อนที่ใช้ในครัว แต่ควรทาด้วยพลาสติกเพื่อกันน้าได้
หรืออาจประยุกต์นาพลาสติกเป็นผืน เช่น ถุงดาขนาดใหญ่ หรือ พลาสติกปูโต๊ะ ตัดเป็นทรงคล้ายผ้ากันเปื้อน แล้วทาหูโดยใช้เชือกพลากติกมัดเป็นเชือกผูกช่วงคอและเอวได้ ความยาวควรคลุมลงมาให้เลยหัวเข่า ผู้ที่ไปทาความสะอาดไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น แต่ควรใส่กางเกงขายาวเพราะจะปกป้องผิวหนังจากสิ่งสกปรกและป้องกันการถูกขีดข่วนจากเศษวัสดุต่างๆ ได้ดี

5.แว่นตา คนที่เข้าไปขูด แซะ หรือโกยเศษขี้ดิน โคลน รวมทั้งกลุ่มที่ไล่ฉีดน้า และกวาดน้า ควรใช้แว่นตาที่ป้องกันวัสดุกระเด็นเข้าตา และหากเกิดอุบัติเหตุวัสดุกระเด็นเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้าสะอาดไหลผ่านทันที ห้ามขยี้ตา

อุปกรณ์ป้้องกันอันตรายส่วนบุคคล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ยกเว้นบางประเภท แต่ต้องล้างทาความสะอาดก่อนและหลังการใช้งาน แต่บางประเภทก็อย่าดีกว่า ไม่ควรใช้ปะปนกัน โดยเฉพาะท่านที่มีจิตอาสาแนะนาว่า ซื้อไว้เป็นของส่วนบุคคล ไปช่วยเขาที่ไหนก็เอาไปด้วย ใช้ของเราเอง ไปช่วยเสร็จก็ล้างทาความสะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วใส่ไปช่วยที่ใหม่จะดีกว่า

นอกจากนี้มีคาถาทางานอย่างความปลอดภัย กล่าวคือ
ต้องตั้งสติให้ดีทางานอย่างระมัดระวัง
 มองรอบตัวว่า มีเครื่องมือ เครื่องกลอะไรบ้างที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
 เวลาทางานอย่าหยอกล้อเล่นกันมากนักเพราะอาจเกิดการลื่นหกล้มได้
 ทั้งนี้ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนดื่มน้าหรือทานข้าว ระวังอย่าเผลอหยิบของทานเล่นเข้าปากโดยไม่ทาความสะอาด
 ท้ายสุดอย่าลืม ชุดที่ท่านใส่ไปทาความสะอาด เมื่อกลับบ้านให้แยกซักต่างหากจะดีกว่า หากเลอะเทอะหรือเปื้อนมากเมื่อซักสะอาดแล้วก็ใช้น้าร้อนซักน้าสุดท้ายแล้วตากแดดแรงๆ หรือไม่ก็ทิ้งไปพิจารณาตามความสกปรกแล้วกัน

การฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมหลังน้ำท่วม


การฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมของบ้านภายหลังน้าท่วม

การเตรียมแผนงานทำความสะอาด
เรื่องหลักที่หลายๆ ท่านกำลังเร่งดาเนินการ คือ การฟื้นฟูบ้าน หรือสถานที่ทำงานที่ถูกน้าท่วม ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดี เหมาะแก่การอยู่อาศัย หรือใช้งานต่อไป การทาความสะอาดเป็นงานหนึ่งในหลายๆ ด้านของการจัดการฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมของบ้านและสถานที่ เพื่อมิให้สถานที่เหล่านั้นมีแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค หรือ มีพาหะนาโรคแฝงอาศัยอยู่ หรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ อีกทั้งต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเมื่อย้ายเข้าไปอยู่อาศัย หรือเข้าไปทางาน ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการจัดการฟื้นฟู มีตั้งแต่เรื่องความสะอาดของที่อยู่อาศัย น้าใช้ น้าบริโภค ระบบไฟฟ้า ขยะ ห้องน้าห้องส้วม คุณภาพอากาศภายในอาคาร และอื่นๆ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ไม่ได้จาเป็นต้องดาเนินการให้แล้วเสร็จพร้อมๆกัน คงต้องพิจารณาจัดลาดับความสาคัญแล้วค่อยๆ ปรับปรุงกันไป

ก่อนที่ท่านจะลงมือทาความสะอาดบ้าน หรือสถานที่ทางาน ควรต้องมีแผนงานที่ชัดเจนก่อนเริ่มงาน หลายท่านอาจคิดว่าเสียเวลา หรือทาให้เป็นเรื่องใหญ่ไม่เข้าเรื่อง แต่ในความจริงแล้วพบว่าในการทาความสะอาดไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือสถานที่ทางานซึ่งมีคนจานวนหนื่งมาร่วมกันทางาน หากไม่เข้าใจขั้นตอนหรือแนวทางในการทางานแล้ว อาจเกิดความสับสน และเสียเวลา เช่น จะทาความสะอาดพื้นบริเวณไหนก่อน ของชิ้นไหนจะทิ้ง และทิ้งที่ไหน จะย้ายเครื่องใช้ต่างๆไปไว้ที่ใด จะย้ายของลงมาหรือยัง ซึ่งหากสามารถตกลงแผนงานร่วมกันได้แล้ว ก็จะช่วยให้การดาเนินงานเป็นไปได้อย่างดี โดยในการจัดทาแผนงานให้ตอบคาถามดังต่อไปนี้
1. จะเริ่มทาความสะอาดที่ไหนก่อน เช่น ห้องด้านในสุดสู่ด้านนอก หรือ พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย ห้องนอน ห้องครัว หรือ อาจแบ่งพื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน (ถ้ามี) และจะทาความสะอาดอย่างไร บางส่วนอาจต้องทาความสะอาดเป็นอย่างดี บางแห่งอาจทาพอให้อาศัยอยู่ได้ก่อน
2. อะไรบ้างที่เสียหายใช้การไม่ได้ ต้องทิ้ง อะไรที่จะรอซ่อม อะไรที่ยังพอใช้การได้ โดยเฉพาะสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา/ถังเก็บน้า ห้องน้า ห้องส้วม/บ่อบาบัด
3. ของที่เสียหายจะทิ้งที่ไหน ทั้งนี้เพื่อจัดเตรียมพื้นที่สาหรับจัดวางข้าวของที่เสียหาย ถุงทรายจะกองไว้ที่ไหน เศษไม้ เศษเหล็ก



กระดาษที่เปียกน้า จะวางไว้ที่ใดเพื่อที่จะสามารถนาไปขายหรือส่งไปรีไซเคิลได้ ส่วนที่ทาอะไรไม่ได้แล้ว ที่นอนที่แช่น้า เศษโคลน ขี้ดิน อาจวางรวมกันเพื่อให้รถเก็บขยะมารับไป และอย่าลืมจัดสรรพื้นที่สาหรับของที่จะต้องซ่อมแซม
4. ต้องการกาลังคนเท่าไรและทาอะไรบ้าง จานวนคนที่จะต้องช่วยยกของ คนที่จะช่วยขูด แซะ โกยเศษโคลนหรือวัสดุต่างๆ คนที่จะช่วยขัดถู เป็นต้น
5. ต้องใช้ อุปกรณ์อะไรบ้าง นอกจากอุปกรณ์ทาความสะอาด เช่น แปรงขัด สายยาง ผงซักฟอก ถังน้า ถุงขยะ ไม้กวาด แล้ว อาจต้องมีเครื่องมือช่าง ค้อน เลื่อย ไขควง ตะปู คีม หรือชะแลง เพื่อนามาใช้ในการปรับปรุงบ้านเบื้องต้น เพื่อให้ใช้การได้ตามปกติ
6. ระยะเวลาที่ต้องการใช้ในการทาความสะอาด ทั้งนี้อาจไม่สามารถทาให้เสร็จได้ในวันเดียว ดังนั้นอาจต้องคานึงถึงการปิดล็อคบ้านเพื่อความปลอดภัยหลังการทาความสะอาดแต่ละวัน
เมื่อตอบข้อคาถามต่างๆแล้วจะทาให้ท่านรู้ว่าจะจัดเตรียม คน เครื่องมือ อุปกรณ์อะไรบ้าง เพื่อนามาใช้ในการทาความสะอาด ซึ่งบางครั้งท่านอาจต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน หรือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากเพื่อนบ้านหรือชุมชนของท่านมีผู้ได้รับผลกระทบจากน้าท่วมเหมือนกัน ควรรวมตัวจัดทาความสะอาดร่วมกัน

ในลักษณะลงแขก ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะทาให้แต่ละบ้าน มีกาลังคน เครื่องมือ ครบถ้วน โดยอาจไม่จาเป็นต้องซื้อหาแล้ว ชุมชนอาจกาหนดสถานที่สาหรับทิ้งของของชุมชนร่วมกัน และสามารถติดต่อให้หน่วยงานเก็บขนขยะมารับไป หรือบอกต่อซาเล้งให้เข้ามารับซื้อเศษวัสดุต่างๆ ในช่วงที่ทาความสะอาด ก็จะทาให้ชุมชนสะอาดและเป็นระเบียบ การคัดแยกขยะจะช่วยทาให้สามารถจัดการขยะออกไปจากพื้นที่ของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกนาไปฝังกลบต่อไป
เทคนิคเพื่อความปลอดภัยก่อนลงมือทาความสะอาด
1. ในกรณีที่เข้าบ้านหรืออาคารเป็นครั้งแรก ควรเริ่มสารวจจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้าน เมื่อเข้าภายในบ้านให้เปิดประตู หน้าต่าง ทุกบ้านเพื่อระบายอากาศ แล้วรอสักพักหนึ่ง ประมาณ 15 นาที จึงจะเข้าไปเริ่มต้นสารวจภายในบ้าน ทั้งนี้ท่านควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ได้แก่ รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง หน้ากาก และแว่นตา เพื่อป้องกันอันตราย
2. ตรวจสอบความแข็งแรงของรั้ว พื้น และผนัง รวมถึงฝ้าเพดานก่อนเข้าไปทาความสะอาด หากมีสนามหรือพื้นดิน ควรตรวจสอบว่ามีเศษวัสดุ ของมีคม หรือ กิ่งไม้ที่อาจผุพังซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้


ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ให้แน่ใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่ว ก่อนที่จะให้คนเข้าไปในพื้นที่ เพราะระหว่างการทาความสะอาด อาจมีความต้องการใช้ปลั๊กไฟ สาหรับพัดลม และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
4. ตรวจสอบว่าไม่มีสัตว์มีพิษ แฝงอาศัยอยู่ โดยการใช้ไม้เคาะตามพื้นหรือผนัง หรือตามที่นอน ผ้าห่ม กองวัสดุต่างๆ เพื่อไล่สัตว์เหล่านั้นให้ออกไป

ในขั้นแรกนี้ ไม่ควรนาเด็กเล็กเข้าไปในบ้านหรือสถานที่ถูกน้าท่วมขัง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุ หรือ ได้รับสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคได้

สรุปย่อวิชาการการจัดการน้ำและอื่นๆ

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด 
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน 
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง
การจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
          1. บรรลุเป้าหมายของงาน
          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
         4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน 
  การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
         (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
       (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด ขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้
        (6) การจดบันทึก ขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
 การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1) การสนองตอบ (Responsiveness)
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation)
(3) ขีดความสามารถ (Competency)
(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) 
 ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้ 
 องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
 1. “คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
     2.“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
     3. “กระบวนการความรู้นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

นักวิชาการสาธารณสุขต้องทำอะไรบ้าง

 บทความนี้เป็นบทความสั้นๆนะครับ...สั้นมากด้วย
 สั้นแต่บทความ...อย่างอื่นยาว..ลึก...
 อย่างอื่นที่ว่าคือ...แนวความคิด..แนวปฏิบัติ...และสิ่งที่ต้องทำแบบยาวๆๆ
 หลายคน...หลายท่าน...ถามคำถามว่านักวิชาการสาธารณสุขทำอะไรบ้าง
โดยหลักการและสิ่งที่ควรจะเป็น...และต้องเป็นสำหรับนักวิชาการสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องทำวิจัย
นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องมีทัศนคติที่ดีต่องานวิจัย
นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องทำในสิ่งที่ถนัดและมีใจรัก
นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องกล้าล้มเหลว
นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องทำให้งานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
นักวิชาการสาธารณสุข...ต้องไม่มองโรคในแง่ร้าย เช่น ไม่รู้จะทำอะไร ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ไม่มี
 ใครช่วย  


จบแบบสั้นๆๆที่เหลือไปทำเองครับ

โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “เมลิออยด์" ซึ่งพบได้ทั่วไปในน้าและดิน เช่น ในนาข้าว ท้องไร่ บึง และ บ่อน้า
โรคนี้พบได้มากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ
ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วย 2000-3000 รายต่อปี และ ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากการติดเชื้อ
ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานีด้วยโรคเมลิออยด์ถึงปีละ 300-400 คน

ใครเสี่ยงต่อโรคนี้บ้างครับ
1. ผู้ที่สัมผัสกับดินและน้าบ่อยๆ เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวประมง
2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
3. ผู้ที่มีโรคประจาตัวอื่นๆ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคธาลัสซีเมีย และ โรคมะเร็ง
4. ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา
5. ผู้ที่รับทานยาหรือสารที่มีส่วนผสมของ สเตอรอยด์ เช่น ยาหม้อ ยาต้ม ยาชุด ยาลูกกลอน

เชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายทางไหนบ้างครับ
1. เข้าผ่านผิวหนังโดยตรง โดยไม่จาเป็นต้องมีรอยแผลหรือรอยถลอก
2. โดยการดื่มหรือกินอาหารและน้าที่
ปนเปื้อนเชื้อเมลิออยด์ เช่น น้าที่ไม่ได้ต้ม
3. เข้าทางปอด โดยการสาลักน้า หรือ หายใจเอาฝุ่นดิน หรือลมฝนเข้าสู่ปอด
“ โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน"

อาการ
ผู้ป่วยมีอาการได้หลากหลายไม่จาเพาะและมีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงที่พบได้มีทั้ง การติดเชื้อในปอด (ไข้ ไอ) ฝีที่ตับหรือม้าม (ไข้ ปวดท้อง) การติดเชื้อที่ผิวหนัง (อักเสบหรือมีฝี) และ การติดเชื้อในกระแสเลือด (ไข้สูงอย่างเดียว)

การรักษา
1. ให้การรักษาทันทีเมื่อสงสัย
2. ให้ยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดที่จาเพาะกับโรค เช่น ยาเซฟตาซิดีม อย่างน้อยที่สุด 10 วัน
3. หลังจากนั้น รับประทานยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนาอีกอย่างน้อยที่สุด 5 เดือน

ข้อควรระวัง
ต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อจนครบตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้า
หากมีอาการแพ้ยาหรืออาการข้างเคียงจากยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
อย่าหยุดกินยาเองเด็ดขาด


ที่มาศัพท์แพทย์: ภาวะกะเทย (Hermaphrodite)

 ที่มาศัพท์แพทย์: ภาวะกะเทย (Hermaphrodite)
 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์



ส่วนมากคนเราที่เกิดมา ถ้าไม่เป็นผู้ชายก็ต้อง
เป็นผู้หญิง แต่ก็มีเหมือนกันที่คนบางคนเกิดมาแล้วมี
อวัยวะทั้งสองเพศคือทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิงอยู่
ในคนเดียวกัน ความผิดปกติเช่นนี้ทางการแพทย์เรียก
ว่า “ภาวะกะเทย” หรือ “Hermaphrodite” ซึ่งสาเหตุของ
ความผิดปกติที่ว่านี้มีมากมายหลายประการและค่อน
ข้างเข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการแพทย์
อย่างไรก็ตามเนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้ต้องการจะมา
เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้คนเรามีสองเพศในคน ๆ เดียว แต่
ที่อยากจะบอกให้ทราบก็คือทำไมวงการแพทย์จึงเรียก
ความผิดปกตินี้ว่า Hermaphrodite มากกว่า
ก่อนจะทราบที่มาของศัพท์คำนี้ เราคงต้องมา
ทำความรู้จักชื่อของบรรดาเทพต่าง ๆ ของกรีก-โรมันให้
พอทราบเสียก่อน เพราะถ้าไม่ทราบก็อาจทำให้การ
เข้าใจศัพท์ต่าง ๆ ยากขึ้น
ในบรรดาเทพที่สำคัญของกรีก-โรมัน ซึ่งมีอยู่
มากมาย มีเทพและเทวีที่มีความสำคัญไม่น้อยอยู่ ๒
องค์ องค์แรก คือ เฮอร์เมส (Hermes) ซึ่งเป็นเทพแห่ง
การสื่อสาร การเดินทาง การพาณิชย์ และการพูด ชื่อ
เฮอร์เมสนี้เป็นชื่อตามภาษากรีก แต่ภาษาโรมันเรียกว่า
เมอร์คิวรี (Mercury) และอีกองค์หนึ่งคือ อโฟรไดทิ
(Aphrodite) ซึ่งเรียกตามภาษากรีก หรือ วีนัส (Venus)
ถ้าเรียกตามภาษาโรมัน อโฟรไดทิ เป็นเทวีแห่งความงาม ความรัก และการให้กำเนิด

ครั้งหนึ่งเทพเฮอร์เมสได้ลอบเป็นชู้กับเทวี
อโฟรไดทิ (ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะเทวีอโฟรไดทิแต่งงาน
แล้วกับเทพฮีฟีสทัสซึ่งเป็นเทพแห่งการช่างโลหะและ
หัตถกรรม) จนทำให้เกิดบุตรขึ้นมาองค์หนึ่งชื่อว่า เฮอร์
มาโฟรไดทัส (Hermaphroditus) ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากคำว่า
Hermes รวมกับคำว่า Aphrodite ภายหลังให้กำเนิดเฮอร์
มาโฟรไดทัสขึ้นมา เทวีอโฟรไดทิรู้สึกเป็นภาระที่จะต้อง
มาเลี้ยงดูลูกคนนี้ (สงสัยคงกลัวว่าจะไม่มีเวลาไปคบชู้
กับเทพองค์อื่น ๆ อีก จะเสียชื่อว่าเป็นเทวีแห่งความรัก)
จึงนำไปให้เหล่านางอัปสรบนภูเขาไอเดอะช่วยเลี้ยง ซึ่ง
นางอัปสรเหล่านั้นก็ช่วยกันเลี้ยงดูจนเฮอร์มาโฟรไดทัส
เติบโตเป็นหนุ่มใหญ่ที่มีรูปโฉมงดงามเป็นที่ต้องตา
ต้องใจของบรรดาสาว ๆ ทั้งหลายที่ประสบพบเห็น
วันหนึ่งขณะที่เฮอร์มาโฟรไดทัสลงอาบน้ำใน
บ่อน้ำพุแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางอัปสรชื่อ ซัลมาซิส
(Salmacis) นางเห็นเฮอร์มาโฟรไดทัสมีรูปโฉมที่งดงาม
เหลือเกิน ก็เกิดหลงรักจนถอนตัวถอนใจไม่ได้ จึงตรง
เข้าไปกอดรัดเฮอร์มาโฟไดทัสไว้ พร้อมกับอ้อนวอนขอ
ความรักจากเฮอร์มาโฟไดทัส แต่เฮอร์มาโฟไดทัสก็ไม่
ยอมสนใจในความรักของนางเลย นางจึงอธิษฐานต่อ
ทวยเทพขอให้นางได้สมรสสมรักกับเฮอร์มาโฟรไดทัส
โดยไม่มีวันพรากจากกัน ทันใดนั้นทวยเทพก็สนอง
ตอบต่อคำอธิษฐานของนางซัลมาซิสโดยบันดาลให้ร่าง
ของนางกับร่างของเฮอร์มาโฟไดทัสผสม ผสานกลาย
เป็นร่างเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้เลย นับตั้งแต่นั้น
มาเฮอร์มาโฟไดทัสก็มีทั้งสองเพศกลายเป็นกระเทยไป
ในที่สุด

ได้เวลาจัดการโรคไข้เลือดออก

เข้าไตรมาส 2 จะย่างเข้าไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2553 แล้ว ช่วงนี้ เป็นช่วงที่ครูบาอาจารย์ท่านพร่าบอกพวกเรามานานไว้ว่าเป็น Golden Period ที่จะจัดการกับโรคไข้เลือดอก ได้ดีที่สุด เพราะว่าช่วงหน้าแล้ง แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ายุงลายก็น้อยลง จานวนยุงลายตัวเต็มวัยก็ลดลงเพราะอุณหภูมิ ความชื้นยังไม่เหมาะสม เชื้อเดงกี่ไวรัส ที่อยู่ในวงจรระหว่างคน กับยุงก็ลดลง ถ้าหากมีการจัดการได้ดีในช่วงนี้ โอกาสที่จะมีการการบาดที่มาอย่างรวดเร็วหรือไม่คาดคิด รวมทั้งการระบาดใหญ่ๆ ก็จะลดลงลงไปในฤดูฝน (ถ้าทาได้)
จากสถานการณ์ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา พบว่าปรากฏการณ์ในเรื่องรูปแบบของการเกิดโรค
( Pattern of dengue ) ที่เคยทานายได้ค่อนข้องแม่นยา เช่น เกิดปีเว้นปี หรือ 2ปีเว้น 2 ปี ได้เปลี่ยนไป ดังกร๊าฟแสดงอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 และลักษณะของการเกิดโรคในฤดูหนาวต่อฤดูแล้งก็เปลี่ยนไปจากการพบจานวนผู้ป่วยเล็กน้อยหรือไม่พบเลยในช่วงปลายปีต่อต้นปี กลายมาเป็นพบผู้ป่วยมากขึ้นและเป็นกลุ่มก้อนก็มี
ทาไมถึงเป็นอย่างนี้
ก็พอจะวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและยุงลาย อันเนื่องมาจากภาวะโรคร้อน ฝนที่ตกไม่เป็นฤดูกาล ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้า ทาให้ประชาชน หาภาชนะมาเก็บน้ามากขึ้น ประเทศเขตหนาวกลายเป็นเขตอบอุ่นขึ้น เช่น ภูฏาน พบผู้ป่วยรายแรกในปี 2547 และในปี 2548 มีรายงานพบผู้ป่วยที่เนปาล ทั้งที่ไม่เคยมีรายงานโรคไข้เลือดออกมาก่อน (1) และในประเทศไทยที่ไม่เคยพบไข้เลือดออกในภูเขาสูง ก็พบการระบาดใหญ่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า บ้านซาเจ๊าะ ตาบลแม่ไร่ อาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นต้น ซึ่งสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น ทาให้วงจรชีวิตของยุงพัฒนาการฟักตัวเร็วขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนยังทาให้ลูกน้ากลายเป็นยุงเร็วขึ้น จากเดิมที่ใช้เวลาฟักตัว 7 วัน ก็ลดเหลือเพียงแค่ 5 วัน เท่านั้น (2) จึงอาจกล่าวได้ว่าภาวะโรคร้อนส่งผลให้เกิดสภาพเหมาะสมกับการแพร่พันธุ์ของยุงลายได้ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้มีงานวิจัยของ อุรุญากร จันทร์แสงและคณะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรวจหาการเปลี่ยนแปลง (Mutation) ในระดับยีนส์ ที่ทาให้ยุงลายเกิดความต้านทานต่อสารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ ด้วยวิธีPCR-RFLP ซึ่งจากการศึกษาพบว่ายุงลายจากจังหวัดนนทบุรี มีอัตราการดื้อเป็น 27% ของยุงลายที่นามาตรวจทั้งหมด ในขณะที่ยุงลายจากจังหวัดฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, จันทบุรี, ราชบุรี, กระบี่, สุราษฎร์ธานี, ตาก, สุโขทัย, กาแพงเพชร และนครสวรรค์มี อัตราการดื้อ 58.5, 59, 30, 60, 26, 36, 30, 16.7, 50 และ 73.3% ตามลาดับ รวมทั้งการ ตรวจด้วยวิธีนี้ยังพบกลุ่มของยุงลายที่สามารถให้กาเนิดยุงลายรุ่นต่อๆไปที่เป็นยุงลายดื้อยาได้ เนื่องจากได้ตรวจพบยีนส์ดื้อแฝงอยู่ใน
ยุงลายกลุ่มนั้น (3) ซึ่งทั่วประเทศเราก็ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์เป็นหลัก ถ้ามีการดื้อสารเคมีขยายวงกว้างมากขึ้น จะส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างแน่นอน
ปัจจัยด้านเชื้อเดงกี่ ไวรัส มีรายงานการศึกษาที่ค้นพบองค์ความรู้ที่สอดคล้องกัน คือการศึกษาของ ผศ.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ยุงลายสามารถถ่ายทอดเชื้อจากรุ่นสู่รุ่น ไม่เฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น ยุงลายตัวผู้ก็มีเชื้อไวรัสเดงกี่และสามารถถ่ายทอดผ่านการผสมพันธุ์ได้ด้วย การศึกษาของ ดร. อุษาวดี ถาวระ และคณะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (3) พบการติดเชื้อ Den-2, Den-3 and Den-4 ทั้งในยุงลาย Ae. aegypti และ Ae. Albopictus ทั้งตัวผู้และตัวเมีย และที่น่าสนใจคือ พบการติดเชื้อ 2 serotype คือ Den-2 and Den-3 ในลูกน้ายุงลาย Ae. Aegypti นอกจากนี้ยังพบว่า มีการติดเชื้อ 2 serotype (Den-2 and Den-3) ในยุงลายตัวผู้และตัวเมียตัวเดียว ทั้ง Ae. aegypti และ Ae. Albopictusซึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องรอให้มีผู้ป่วยหรือคนนาเชื้อเข้ามาในหมู่บ้านหรือชุมชนก็สามารถพบไข้เลือดออกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม นอกจากนี้เดงกี ไวรัส ทั้ง 4 ซีโรทัยป์ก็การกระจายไปทั่วเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งระดับโลกด้วย ดังภาพการกระจายเดงกี่ ซีโรทัยป์เขตสาธารณสุขที่ 14 ปี พ.ศ. 2551
ปัจจัยด้านคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง ในทางระบาดวิทยาเน้นที่คนที่มีภูมิไวรับ เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อคนได้รับเชื้อครั้งแรก เป็นซีโรทัยป์ใด ก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อชนิดนั้นตลอดชีวิต ขณะเดียวกันก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่ออีก 3 ชนิด แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน (4) ดังนั้นโอกาสที่จะป่วยเป็นไข้เลือดออกจึงพบในเด็กตั้งแต่ 1 – 10 ปี เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นระยะที่จะมีโอกาสติดเชื้อครั้งที่ 2 ที่ต่างซีโรทัยป์ได้มาก แต่ในปัจจุบันก็จะพบว่าในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 15 ปี ก็พบในสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักพบเป็น Dengue Fever ประมาณร้อยละ 53 แต่ในรายที่เป็นไข้เลือดออกมักพบอาการรุนแรงกว่าในเด็ก เนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ไม่นึกถึงโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ส่วนมากจะไปพบแพทย์ช้า จะไปเมื่อมีอาการมากแล้ว นอกจากนี้ผู้ใหญ่ยังมีโรคประจาตัวมากกว่าในเด็ก โรคที่สาคัญที่ทาให้โรค ไข้เลือดออกมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นคือโรคกระเพาะ ส่วนโรคประจาตัวที่ทาให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ (5) โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า แม้ไม่ได้ออกจากหมู่บ้านไปไหนก็สามารถป่วยได้ เพราะเนื่องจากยุงมีการถ่ายทอดเชื้อได้เองส่วนหนึ่งตามที่มีงานวิจัยที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันการคมนาคมที่สะดวก อาชีพที่ต้องเดินทางเข้ามาทางานหรือเรียนหนังสือในเมืองก็เป็นปัจจัยสาคัญในการกระจายเชื้อได้รวดเร็วมาก
ที่กล่าวมายืดยาวนี้ก็เพื่อจะบอกว่า แนวโน้มของไข้เลือดออกในปี 2553 นี้ น่าจะระบาดมากและมีความรุนแรงด้วย ดังนั้นช่วง Golden Period ที่พูดถึงข้างต้นจึงเป็นช่วงสาคัญ เมื่อพิจารณาทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว แม้ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม แต่ก็ยังมีแนวทางที่เป็นไปได้ ดังนี้
1. ในช่วงนี้ ต้องให้ความสาคัญต่อระบบการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว ชัดเจน ไม่ละเลยในผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปด้วย
2. ระบบรายงานต้องจริงจัง กว่าฤดูกาลระบาด (ไม่ต้องรอฤดูฝน) รายงานเร็วทันทีที่พบผู้ป่วย วันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาก็ต้องให้ความสาคัญ
3. ทีม SRRT ทุกระดับต้องทบทวน เตรียมความพร้อมได้เลย ทั้ง คน รถ เครื่องพ่น สารเคมี มักพบเสมอว่าพบผู้ป่วย 1 รายในหน้าแล้ง ส่วนใหญ่จะให้ความสาคัญน้อย แต่ถ้าไม่เอาจริง ท่านจะเหนื่อยตลอดทั้งปี ต้องนึกเสมอว่าเวลาพบผู้ป่วย 1 ราย นั้นให้นึกถึงภูเขาน้าแข็ง โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใต้น้า ความหมายคือ ต้องลงให้ถึงชุมชน ถึงปัญหา อย่าเพียงแต่บอกให้ อสม. ไปพ่นสารเคมี แล้วแล้วถือว่าเสร็จสิ้น
4. เน้นคุณภาพการสอบสวน โดยเฉพาะการหาแหล่งโรคให้คลอบคลุม และกลุ่มเสี่ยงรวมทั้งปัจจัยเสี่ยง และจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5. การควบคุมโรคไม่เน้นการพ่นสารเคมีอย่างเดียว อย่าลืมเรื่องการสร้างความร่วมมือให้มีการกาจัดแหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้าอย่างต่อเนื่องสาคัญกว่า
6. การพ่นสารเคมีต้องคานึงถึงเทคนิคที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการเตรียมชุมชน ถ้าพ่นหมอกควันพยายามปิดอบบ้านให้ได้มากที่สุด
7. ทางานเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะระดับตาบล หน่วยงานต่างๆ ต้องร่วมมือกับชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค
8. อย่าลืมการประชาสัมพันธ์ ใช้สื่อให้หลากหลาย โดยเฉพาะสื่อท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่องและเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ยินบ่อยๆ ในระดับบุคคลและครอบครัว เน้นพฤติกรรม 4 ป. (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุงสภาพแวดล้อม) ระดับชุมชนเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือ
9. ผู้บริหารทุกระดับต้องให้ความสาคัญ และติดตามผลอย่างจริงจัง

การสอบสวนโรคไข้เลือดออก

จากกรณีการเกิดโรคไข้เลือดออก ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นักระบาดวิทยาได้ดาเนินการสอบสวนโรคและดาเนินการควบคุมโรคซึ่งมีรายละเอียดทางวิชาการดังนี้ พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก จานวน 3 ราย ในช่วงเดือน มิถุนายน 2550 1. ผู้ป่วยรายแรกที่สงสัยเป็นผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง อายุ 18 ปี เป็นนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ สานักวิชาศิลปศาสตร์ พักหอพัก F 2 ห้อง 311 และบ้านอยู่จังหวัดเชียงราย เริ่มป่วยวันที่ 8 มิถุนายน 2550 และวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่จัน ซึ่งได้รับยาแก้ไข้และยาแก้อักเสบ ไม่ทราบชนิด มารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2550 จากการตรวจร่างกายทั่วไป พบว่า ผู้ป่วยมีความดันปกติ มีไข้ 38 องศาเซลเซียส และผลการตรวจหาไข้เลือดออก เบื้องต้นโดยวิธี Tourniquet test ปรากฏว่า ให้ผล Positive แพทย์จึงตัดสินใจส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ซึ่ง และหลังจากผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลพบว่ามีผู้ป่วยรอจานวนมาก จึงเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุค การวินิจฉัยแรกรับ R/O DF และ Final diagnosis เป็น URI 2. ผู้ป่วยรายที่ 2 ที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง ยุ 20 ปี เป็นนักศึกษาสานักวิชาการจัดการเริ่มป่วยวันที่ 9 มิถุนายน 2550 เข้ารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 13 มิถุนายน 2550 พักอยู่ที่หอ F6 ห้อง 328 อาการแรกรับผู้ป่วยมีอาการไข้ ความดันปกติ เมื่อทดสอบด้วย Tourniquet test ปรากฏว่าให้ผลบวก แพทย์ผู้รักษาจึงตัดสินใจส่งต่อโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ แรกรับแพทย์วินิจฉัยว่า R/O DF และFinal diagnosis เป็น Common cold 3. ผู้ป่วยรายที่ 3 ที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก เป็นเพศหญิง อายุ 18 ปี เป็นนักศึกษาสานักวิชาศิลปศาสตร์ พักอยู่ที่หอพัก F1 เริ่มป่วยวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดท้องร่วม และได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ในที่ 20 มิถุนายน 2550-23 มิถุนายน 2550 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไข้เลือดออก (DF) ผู้ป่วยรายนี้บ้านอยู่ตาบลแม่สาย อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
จากการสอบสวนโรคยังไม่สามารถสรุปได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกจากบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยหรือไม่ เพราะในจานวนผู้ป่วยทั้ง 3 ราย เป็นผู้ป่วยที่ยังเดินทางไปกลับบ้านช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และภูมิลาเนาอาศัยเป็นเขตอาเภอเมืองและอาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออดอยู่แล้ว ส่วนผู้ป่วยรายที่สามอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นกลุ่ม Secondary infection คือเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อต่อจากผู้ป่วย 2 คนแรกที่อาศัยอยู่บริเวณหอใกล้เคียงกัน ซึ่งถ้าเป็น Secondary infection แสดงว่ามียุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก อาศัยอยู่บริเวณที่พักแล้ว จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดาเนินการกาจัดยุงอย่างเร่งด่วน สาหรับการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันแพทย์ใช้อาการทางคลินิก และผลทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น 2 อย่าง เป็นตัววินิจฉัย คือ ความเข้มข้นของเม็ดเลือด และปริมาณของเกร็ดเลือด ซึ่งสามารถตรวจยืนยันได้ในโรงพยาบาลเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการระบาดเกิดขึ้นต้องการแยกชนิดของเชื้อให้มีความเจาะจงมากขึ้น ห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจได้ คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย โดยจะตรวจในเรื่อง Serotyping ซึ่งจะตรวจในเรื่องภูมิคุ้มกันวิทยาขงคนไข้ต่อเชื้อนั้น ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจและต้องเก็บข้อมูลระยะเวลาของการป่วยของผู้ป่วยให้ชัดเจน เพื่อเปรียบเทียบและแปลผลให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
มาตรการการควบคุมป้องกันโดยสานักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์
1. การประชาสัมพันธ์แจ้งการระบาดโรคไข้เลือดออก โดยผ่านทาง Internet หนังสืออย่างเป็นทางการต่อทุหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และ 2. ควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันรัศมี 100 เมตร บริเวณที่พักอาศัยของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ในวันที่ 14 มิถุนายน 2550 3.เตรียมการรณรงค์โดยการขอความอนุเคราะห์ทรายทีมีฟอส จานวน 50 กก. และแผ่นพับประชาสัมพันธ์จานวน 200 แผ่น ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและควบคุมโรคป้องกันโรคไข้เลือดออกจังหวัดเชียงราย 4. ประสานงานกับหน่วยควบคุมโรคนาโดยแมลงที่ 4 จังหวัดชียงราย เพื่อดาเนินการพ่นหมอกควันในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2550 5. แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเฉพาะกิจ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด โดยขอข้อมูลทางระบาดวิทยาจากสานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายเพื่อเฝ้าระวังโรคและประเมินสถานการณ์ทุก ๆ อาทิตย์ 7. เตรียมความพร้อมในด้านการแพทย์และพยาบาลที่ศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยจัดเตรียมวัสดุการแพทย์ ตลอดทั้งซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ตลอดทั้งการรายงานสถานการณ์ 8. เชิญประชุมตัวแทนหน่วยงานทุกหน่วยงานเพื่อชี้แจงสถานการณ์ และให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โดยคณบดีสานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นายแพทย์สาเริง กาญจนเมธากุล) 9. แต่งตั้งคณะกรรมทางานเฉพาะกิจจากตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ทาลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณที่ตั้งสานักงาน ตลอดทั้งรายงานสถานการณ์ให้สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพทราบเพื่อให้นักระบาดวิทยาวิเคราะห์และประเมินผลทุก ๆ สัปดาห์ และคณะทางานจะประชุมร่วมกันทุก ๆ วันจันทร์ เวลา 13.00-14.00 น. ที่สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10. ร่วมประชุมกับองค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุด สานักงานสาธารณสุขอาเภอเมือง และสถานีอนามัยตาบลท่าสุด เรื่องการวางแผนการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2550 เวลา 09.00-11.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุด โดยข้อสรุปในที่ประชุม มีดังนี้ 10.1 กรณีที่เกิดโรค สานักงานสาธารณสุขอาเภอเมืองและสถานีอนามัยตาบลท่าสุดจะเป็นผู้ดาเนินการพ่นหมอกควันและจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 10.2 กรณีการพ่นเพื่อกาจัดยุงลายปีละ 2 ครั้งนั้น ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนครั้งที่ 2 องค์การบริหารส่วนตาบลท่าสุดเป็นผู้รับผิดชอบ โดยแต่ละครั้งจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000-20,000 บาท ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมในส่วนของมหาวิทยาลัย คือ อาจารย์ธวัชชัย คีรีคามสุข และอาจารย์จักรกฤษณ์ วงค์ลังกา ในเบื้องต้นอาจารย์ทั้งสองได้แจ้งว่าต่อที่ประชุมว่าจะเข้าไปเสนอผู้บริหารของมหาวิทยาลัยก่อน เพราะไม่มีอานาจในการตัดสินใจ 11. ได้ประสานไปยังสานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายให้มาดาเนินการพ่นหมอกควัน ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มาดาเนินการพ่นหมอกควันวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ในกลุ่มอาคารหอพัก F1 และ F2.

ไข้เลือดออกระบาด

ด้วยช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงทาให้มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเกิดจากจานวนประชากรของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก มีการเจริญพันธุ์จานวนมาก ดังนั้นจึงทาให้มีโอกาสเป็นไข้เลือดออกมากเช่นกัน ดังนั้นเรามารู้จักโรคไข้เลือดออกกันนะครับ
สาเหตุ : โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส Dengue virus ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายเป็นพาหะ
การติดต่อแพร่กระจาย : การติดเชื้อหรือการติดต่อเกิดจากผู้ป่วยถูกยุงลายกัด โดยเฉพาะยุงลาย Aedes aegypti ซึ่งเป็นยุงลายชนิดหนึ่งที่ชุกชุมและออกหากินในเวลากลางวัน และอาศัยอยู่ในที่ชุมชนหรือที่อยู่อาศัยของคน
อาการ: อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อ อายุผู้ป่วย ภูมิคุ้มกันผู้ป่วย และจานวนครั้งที่ติดเชื้อ : อาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้คล้ายการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ คือมีอาการอักเสบของคอ น้ามูกไหล ไอ มีไข้อยู่ 1-5 วัน ซึ่งไม่สามารถแยกได้ด้วยอาการทางคลินิก เด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะมีอาการไข้ 39.5-41.4 C ชีพจรจะช้าเมื่อเทียบกับอุณหภูมิร่างกาย ปวดศีรษะ และกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อและกระดูกมาก อาจจะมีผื่นขึ้นตามตัวใน 2-4 วันแรกของการมีไข้ หลังจากนั้นผู้ป่วยเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ต่อมน้าเหลืองโต อาจจะมีเลือดกาเดาออก จุดเลือดออกใต้ผิวหนังหรือกระเพาะอาหาร
ปัจจัยสาคัญทางระบาดวิทยา
เนื่องจากขณะนี้มีไข้เลือดออกระบาดในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยเฉาะอย่างยิ่งอาเภอแม่จัน ซึ่งมีผู้ป่วยจานวนมาก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และนักระบาดวิทยาเชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ชนิดที่ 2 ซึ่งจะทาให้เกิดความรุนแรงของการก่อโรคมากที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ทั้งหมด ประจวบกับเป็นรอบของการเกิดการระบาดของไข้เลือดออก และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พบว่ามีดัชนีชี้วัดที่สาคัญที่ชี้วัดว่าจะมีการระบาดไข้เลือดออกในปี 2550 คือ การเกิดฝนตกอย่างหนักและต่อเนื่องช่วงเดือน พฤษภาคม 2550 และมีความชื้นในอากาศสูงเหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธ์ของยุงลายพาหะนาโรค
ข้อแนะนาสาหรับบุคลากร เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกท่าน
1. กรณีที่รู้สึกไม่สบายคล้ายเป็นไข้หวัด โดยเฉพาะไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับวินิจโรคที่ถูกต้อง
2. รับประทานน้ามาก ๆ
3. ทาลายแหล่งเพาะยุงลายบริเวณหอพัก
4. เติมทรายทีมีฟอส (ทรายอะเบท) ลงในบริเวณน้าขังใกล้ที่พัก ทั้งนี้เบิกได้จาก สานักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

วันไข้เลือดออกอาเซียน

“วันไข้เลือดออกอาเซียน”
ไข้เลือดออก เป็นโรคประจำถิ่นที่อยู่คู่กับคนไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2501 มาจนถึงปัจจุบัน แนวโน้ม
ระบาดปีเว้นสองปี โดยมียุงลายที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจากคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่คนอื่น
ยุงลายมักออกหากินตอนกลางวัน หลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในที่ๆมีน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ ภาชนะ
กักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่ม
เสี่ยง และใช่ว่าโรคนี้จะเว้นที่ให้กับผู้ใหญ่หรือคนแก่เฒ่า เพราะเคยมีรายงานผู้ป่วยที่มีอายุกว่า 80 ปียังป่วย
ด้วยโรคนี้ ทั้งนี้ เด็กที่ชอบซุกซน เยาวชนที่เพลินอยู่กับเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือวัยรุ่นที่ชอบนุ่งสั้น ล้วนเอื้อต่อ
โอกาสการถูกยุงลายกัดได้ง่ายเช่นกัน แต่การระมัดระวังตนเองเพียงลำพังก็ไม่อาจจะป้องกันโรคนี้ได้มากนัก
เพราะโรคนี้เกิดจากยุงลายที่จะบินไปบ้านใครก็ได้ตามอำเภอใจ ฉะนั้นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจที่จะเป็น
กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นระดับครัวเรือน ระดับหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ประเทศ หรือ
ระดับภูมิภาค เพราะไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประเทศในแถบร้อนชื้น
หลายๆ ประเทศของเอเซียก็มีปัญหาในการควบคุมโรคนี้เช่นกันเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะต่อการ
เกิดของยุงลายนั่นเอง ในปี 2554 ( ค.ศ. 2011) กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ที่ประชุมมีมติ ร่วมกัน
กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น ASEAN Dengue Day (วันไข้เลือดออกอาเซียน)
และ ปี 2554 ( ค.ศ. 2011) เป็นปีแรกของการร่วมรณรงค์ระดับอาเซียน ทั้งนี้ กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรค
ไข้เลือดออกดำเนินการในส่วนของตนเอง ด้านประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้หาพันธมิตรที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง มาร่วมกันกำหนดมาตรการจัดการปัญหาไข้เลือดออก คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการเฝ้าระวัง
ป้องกันโรค จัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในจังหวัด อำเภอ ตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล และชุมชนให้สะอาด
ปราศแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ภายใต้ Theme : Big Cleaning Day “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย”
โดยการ
เก็บ 1. เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำ เช่นขวด กล่อง ถุงพลาสติก แก้วน้ำ ยางรถยนต์เก่า ที่ทิ้งขว้างไว้
เพราะเมื่อมีฝนหรือน้ำตกค้างจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้เป็นอย่างดี
เก็บ 2. เก็บกวาดบ้านให้สะอาดปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยและเกาะพักของยุงลาย
เก็บ 3. เก็บน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาดมิดชิด โดยการปิดฝาโอ่งไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
เก็บ 4. เก็บล้างภาชนะใส่น้ำ เช่นแจกัน อ่าง ถัง เพื่อขจัดไข่และลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์
เก็บ 5 เก็บแล้วรวย เก็บวัสดุรีไซด์เคิลที่เหลือใช้ไปขายเป็นรายได้เสริม
และที่สำคัญต้องพร้อมใจกันทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ รวมทั้งต้องร่วมใจกันเผยแพร่ข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้
ทุกครัวเรือนหันมาดูแลเอาใจใส่บ้านเรือน จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ให้ข้อมูล
ข่าวสารให้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น และระดมความคิดที่หลากหลาย ในการกำจัดยุงตามวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ท้องถิ่น
จนเกิดเป็นนวัตกรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจะสามารถจัดการกับปัญหาโรค
ไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยแมลงอื่นๆ ได้

การพัฒนางานระบาดวิทยาสุขภาพจิต

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ เป นครั้งที่ ๒ ที่คณะกรรมการพัฒนางานระบาดวิทยาสุขภาพจิตได้ประชุมร่วมกัน โดยครั้งนี้
๔ คณะอนุกรรมการฯ ได้นำเสนอทิศทางและแผนการดำเนินงานต%อคณะกรรมการอำนวยการพัฒนางานระบาดวิทยาสุขภาพจิตที่มี
นายแพทย/เกียรติภูมิ วงศ/รจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต เป นประธาน ดังนี้
๑. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเฝ าระวังและสอบสวนทางระบาดวิทยาสุขภาพจิต ได รวบรวมและวิเคราะห การ
ดำเนินงานเฝ าระวังและสอบสวนทางระบาดวิทยาสุขภาพจิต ได แก# ซึมเศร า ฆ#าตัวตาย ป)ญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ วิกฤตจาก
ภัยธรรมชาติและมนุษย ความเครียด ความรุนแรง อุปทานหมู# ความผิดปกติทางจิตเวช ป)ญหาพัฒนาการ พฤติกรรมและอารมณ ใน
เด็กเล็ก วัยเรียน และวัยรุ#น โดยจะมีการแลกเปลี่ยน และปรับให ระบบการเฝ าระวังและสอบสวนต#างๆ มีความสมบูรณ ต#อไป
๒. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการสำรวจทางระบาดวิทยาสุขภาพจิต กำหนดทิศทางที่ให มีการสำรวจระบาดวิทยา
สุขภาพจิตระดับชาติทุก ๕ ป; และพัฒนาให เป<นมาตรฐานโลก ในประเด็นความชุกของโรคทางจิตเวชภาพรวม และรายโรค ซึ่งได
ข อเสนอให มีการเพิ่มกิจกรรมการสำรวจทางระบาดวิทยาอื่นๆ
๓. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาสุขภาพจิต กำหนดทิศทางการพัฒนางานระบาดวิทยา
สุขภาพจิต โดยติดตามและสะท อนขนาดป)ญหา ป)จจัยเสี่ยงและป)จจัยปกป องทางสุขภาพจิต แสดงการกระจายในบุคคล เวลา
สถานที่ ป)จจัยเสี่ยงและป)จจัยปกป องทางสุขภาพจิต และบริหารจัดการข อมูลสารสนเทศทางระบาดวิทยาเพื่อตอบสนองการตัดสินใจ
การกำหนดนโยบาย การส#งเสริมป องกันป)ญหาสุขภาพจิต ซึ่งได รับข อเสนอให ในป; ๒๕๕๕ จัดทำรายงานตัวชี้วัดด านสุขภาพจิตด วย
๔. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบพัฒนาศักยภาพและกำลังคนทางระบาดวิทยา กำหนดทิศทางให มีการพัฒนาหลักสูตร
และฝAกอบรมในระยะยาว ๕ ป; รวมทั้งการศึกษาดูงานทั้งในและต#างประเทศ โดยได รับข อเสนอให ในป; ๒๕๕๕ จัดทำหลักสูตรและ
อบรม ๑ รุ#น สำหรับบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิตทุกหน#วยงานอย#างน อยหน#วยงานละ ๑ คน
หลังจากนี้ทุกคณะอนุกรรมการฯ กำหนดแผนปฏิบัติการสำหรับป;งบประมาณ ๒๕๕๕ และเตรียมการจัดทำคำของบประมาณ
ระยะยาวตามช#วงเวลาของแผนฯ ๑๑ ต#อไป

Popular Posts

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

 
Copyright © 2011 toncub | High CTR Blogspot Themes designed by Ali Munandar | Powered by Blogger.Com.
My Zimbio